ชาวดิน ออนเน็ต

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี
ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน
ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี
อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง
คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน

7 / มีนาคม / 2553
........


วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 04, 2551

คดีประวัติศาสตร์ ปิดฉาก3พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งถือเป็นที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ศาลรัฐธรรมนูญจึงลงมติวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์


เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. วันที่ 2 ธันวาคม นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีพิจารณายุบ พรรคพลังประชาชน ว่า หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคผู้ใดมีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปะละเลย หรือทราบถึงการกระทำความผิดของผู้สมัครรับการเลือกตั้งนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งการหรือแก้ไขให้การเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กฎหมายให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้ข้อเท็จจริงพรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคจะไม่ได้เป็นผู้กระทำก็ตามกฎหมาย ก็ยังให้ถือว่าเป็นผู้กระทำ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจจะโต้แย้งได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่อาจวินิจฉัยเป็นอื่นได้


ทั้งนี้เนื่องจากความผิดในการทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง เป็นความผิดในลักษณะพิเศษที่ผู้กระทำจะใช้วิธีการอันแยบยลยากที่จะจับได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารพรรคจะต้องคัดเลือกบุคคลที่จะต้องทำงานกับพรรค และคอยควบคุมดูแลสอดส่องไม่ให้คนของพรรค กระทำความผิดโดยมีบทบัญญัติให้พรรคการเมือง และผู้บริหารพรรคต้องรับผิดต่อการกระทำของผู้บริหารคนที่กระทำผิดด้วย โดยทำนองเดียวกับหลักของการรับผิดของนิติบุคคลทั่วไปที่ว่า ถ้าตัวแทนของนิติบุคคลไปกระทำการใดที่อยู่ในขอบเขตของวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น แล้วและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำการของนิติบุคคลด้วยจะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้ คดีนี้จึงถือได้ว่ามีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องหรือไม่


โดยที่ผู้ถูกร้องเป็นพรรคการเมืองเป็นองค์กรที่มีความสำคัญยิ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องชอบธรรมและสุจริต การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องควรได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ด้วย

ความนิยมของตัวผู้สมัครรับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองผู้ถูกร้องเป็นหลัก มิใช่ได้มาด้วยผลประโยชน์หรืออามิสสินจ้าง หรือมีเหตุจูงใจผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนให้ กรรมการบริหารพรรคทุกคนควรต้องช่วยกันทำหน้าที่ควบคุมและดูแลผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคส่ง ตลอดจนกรรมการบริหารพรรคด้วยกันเองก็มิได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

แต่นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้อง กลับใช้วิธีการผิดกฎหมายทำให้ตนได้รับการเลือกตั้ง ทำให้พรรคการเมืองที่ถูกร้องได้รับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องถือได้ว่าผู้ถูกร้องได้รับประโยชน์ แล้วจึงถือว่าคดีเป็นเรื่องร้ายแรง


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 237 วรรคสอง จะต้องเป็นบุคคลคนละคนกับบุคลที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง และยืนยันว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปะละเลยหรือทราบถึงการะทำนั้นแล้ว ไม่ได้ยับยั้งให้การเลือกตั้งเป็นไปตามสุจริต ยุติธรรมและเที่ยงธรรมนั้น

เห็นว่า หากผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคเอง ย่อมจะต้องเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวแล้วว่า กรรมการบริหารพรรคคนนั้นจะมีเจตนาและกระทำความผิดยิ่งกว่าผู้ที่รู้เห็นเป็นใจเสียอีก ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นเป็นผู้มีส่วนรู้เห็น ปล่อยปะละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริต และเที่ยงธรรมอีกต่อไป เพราะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นวรรคหนึ่ง ก็มีฐานะเป็นกรรมการบริหารพรรคขณะกระทำผิดด้วย จึงเป็นกรณีที่กว่าร้ายแรงที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ห้วหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้กระทำ อันเป็นไปตามหลักกฎหมายที่ว่า เมื่อกฎหมายห้ามกระทำสิ่งชั่วร้ายใดไว้ สิ่งชั่วร้ายมากกว่านั้นย่อมถูกห้ามไปด้วยซึ่งตรงกับคำสามัญสำนึกของปุถุชนทั่วไปและตรงกับตรรกะที่ว่ายิ่งผิดยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น ข้ออ้างของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า พรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยควรมีความเข้มแข็ง ไม่สามารถถูกยุบได้โดยง่ายนั้น

เห็นว่า การเป็นองค์กรที่เข้มแข็งจะต้องเป็นการเข้มแข็งที่มีคุณภาพ มาตรฐานโดยดำเนินกิจการทางการเมืองด้วยความสุจริต แต่หากเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งในทางทุจริตแล้ว ย่อมเป็นการทำลายพรรคการเมืองที่สุจริต และเป็นการทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยแม้พรรคที่หย่อนคุณภาพมาตรฐานจะถูกยุบ แต่บุคคลที่มีอุดมการณ์อันบริสุทธิ์ทางการเมืองตรงกันย่อมมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่เมื่อใดก็ได้ การยุบพรรคการเมืองที่กระทำความผิด จึงเป็นเรื่องปลูกฝังการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรมอันจะเป็นคุณประโยชน์แก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า พรรคได้กำหนดมาตราการป้องกันมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบและประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง ก่อนที่ประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง โดยจัดประชุมชี้แจงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครของพรรคทราบแล้วนั้น

เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าว แม้หากจะได้กระทำจริงก็มิได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย ในกรณีที่หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค ไปทำผิดเสียเอง เพราะในกรณีเช่นนั้นย่อม เป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวที่จัดทำไว้นั้น มิได้มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำความผิดโดยที่ผู้ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องแล้ว ผู้ถูกร้องย่อมรับผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่าผู้ถูกร้องไม่ได้รับประโยชน์ใดๆต่อการกระทำของนายยงยุทธ ตามที่มีการกล่าวหานั้น

เห็นว่าประเด็นนี้ศาลฎีกาได้มีการวินิจฉัยไว้แล้วว่าการกระทำของนายยงยุทธ ทำให้การเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งยังผลให้พรรคของผู้ถูกร้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขึ้นอันเป็นประโยชน์สำคัญประการหนึ่ง


สำหรับประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่าการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการเลือกตั้งและการยื่นคำร้องของผู้ร้องในคดีนี้ เป็นการละเมิดสิทธิ์ในกระบวนการยุติธรรม มิได้เป็นไปตามหลักนิติธรรมนั้นเห็นว่าประเด็นการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น

ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นการโดยชอบด้วยกฏหมาย ส่วนการยื่นคำร้องคดีนี้ผู้ร้องเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 และได้ดำเนินการมาโดยความถูกต้องตามครรลองแห่งข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญทกประการแล้ว จึงเป็นการตามบทบัญญัติของกฏหมาย

การที่นายยงยุทธ ติยะไพรัชใ นฐานะรองหัวหน้าพรรคซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาหลายสมัย มีบทบาทสำคัญในพรรคของผู้ถูกร้อง จนได้รับยกย่องให้เป็นรองหัวหน้าพรรค และประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องควบคุมการสอดส่องดูแลให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนบริหารอยู่กระทำโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่กลับเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง เป็นความผิดที่ร้ายแรงและเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่มีการยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้องเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานพฤติกรรมทางการเมืองที่ดีงามและเพื่อให้เกิดผลการยับยั้งป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิด

ประเด็นที่สามหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผุ้ถูกร้องจะต้องถูกยื่นถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา มาตรา 237 วรรคสองบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคดังกล่าวมีกำหนด 5 ปี ตั้งแต่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเน้นย้ำตรงกับมาตรา 68 วรรคสี่ ที่บัญญัติไว้เช่นเดียวกันว่า บัญญัติดังกล่าวเป็นบัญญัติคัดตามกฎหมายเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยุบพรรคแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองอยู่ในขณะที่มีการกระทำความผิดเป็นเวลา 5 ปีซึ่งศาลไม่อาจจะใช้ดุลยพินิจสั่งเป็นอื่นได้

ส่วนข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องของผู้เกี่ยวข้องที่อ้างว่า การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง จะต้องเป็นกรณีที่หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคแต่ละคนจะมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 นั้น

เห็นว่าการเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริการพรรคการเมืองในคดีนี้ เป็นการเพิกถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 3 ประกอบกับมาตรา 237 วรรค 2 ซึ่งมิใช่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นไรก็ตาม บทบัญญัติของพระราชบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมิอาจลบล้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องในประเด็นนี้ทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น


ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์จึงวินิจฉัยว่าให้ยุบพรรคพลังประชาชนผู้ถูกร้อง เนื่องจากนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพื่อให้ได้มาอันเป็นการกระทำมาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศด้วยวิธี ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีททางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมาตรา 237 วรรค 2 และให้เพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่กระทำความผิดเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ในวันศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 4 ประกอบด้วยมาตรา 237 วรรคสอง


จากนั้น นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีพิจารณายุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย ว่า คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยอยู่ 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 คือ นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 หรือไม่ ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควรให้ยุบพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้องหรือไม่ และประเด็นที่ 3 หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้อง ต้องถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่


ความเห็นเบื้องต้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มีเจตนารมณ์ที่จะให้การเลือกตั้งของประเทศเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีบทบัญญัติทุจริตการเลือกตั้งด้วยการใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใด ซื้อสิทธิ์ซื้อเสียงของประชาชนเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง อันเป็นวิธีที่นักการเมืองส่วนใหญ่ใช้กันมานาน จนเป็นความเคยชินและเป็นจุดเปราะบางทางการเมือง ที่นักการเมืองผู้กระทำไม่รู้สำนึกว่าเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง ทำให้การเมืองและประชาธิปไตยของประเทศ ไม่พัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักการเมืองเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่อำนาจแล้วย่อมใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยการทุจริต ฉ้อราษฏร์บังหลวง โดยไม่มีความละอายเพื่อเตรียมไว้สำหรับใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เพื่อให้ได้อำนาจสำหรับแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบต่อไป เป็นวัฏจักรที่เลวร้ายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและกำหนดวิธีการลงโทษไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวดเพื่อป้องกันนักการเมืองที่ไม่สุจริตเหล่านี้ ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาก่อให้เกิดความเสื่อมเสียทางการเมือง และเพื่อส่งเสริมนักการเมืองที่ตั้งมั่นอยู่ในสุจริตธรรมได้มีโอกาสทำภารกิจอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนมากยิ่งขึ้น


ข้อวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กระทำความผิดตามราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 หรือไม่


เห็นว่า ประเด็นปัญหาการกระทำความผิดของ นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตยนั้น ผ่านกระบวนการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มาแล้ว อันเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 239 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 103 อันเป็นกระบวนการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 239 วรรค 1 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของกกต. เป็นที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ กกต. ในกรณีดังกล่าวได้


"ซึ่งกกต. ได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่า นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย อันนี้พิมพ์นะครับ เอาใหม่ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย เดี๋ยวเจ้าหน้าที่ต้องไปปรับปรุงแก้ไขนะครับ นายสุนทร วิลาวัลย์ รองเลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตยและกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นรองหัวหน้าพรรคนะครับ เจ้าหน้าที่คงไปปรับใหม่ อันนี้เป็นต้นร่างนะครับ"


นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุน หรือ รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำดังกล่าว อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 53 ประเด็นที่ กกต.ได้วินิจฉัยไว้แล้วนั้น เป็นประเด็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับคดีนี้ และเป็นประเด็นที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของกกต. ที่จะเป็นผู้วินิจฉัยตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 239 วรรค 1 ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 103 บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นการทุจริตการเลือกตั้ง


ประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงของการกระทำของนายสุนทร วิลาวัลย์ เป็นกรณีเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 53 หรือไม่ จึงถือเป็นที่ยุติตามคำวินิจฉัยของกกต.แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของกกต.ดังกล่าวได้


ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควรยุบพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้องหรือไม่ เห็นว่าตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติไว้เป็นการเด็ดขาดว่า ถ้ามีการกระทำผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งและสมาชิกนั้น ควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือทำการแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ก็ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง


บทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นข้อสันนิฐานเด็ดขาดของกฎหมายที่บัญญัติไว้เด็ดขาดแล้วว่า หากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หากหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กฎหมายให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้ตามคำชี้แจงของพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้องและคำแถลงการณ์ของหัวหน้าพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้องจะยืนยันว่า พรรคการเมืองหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้อง จะไม่ได้เป็นผู้กระทำก็ตาม


กฎหมายยังให้ถือว่าเป็นผู้กระทำ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่อาจวินิจฉัยเป็นอื่นได้ ทั้งนี้เนื่องจากความผิดในการทุจริตซื้อสิทธิ์ ซื้อเสียงในการเลือกตั้ง เป็นความผิดที่มีลักษณะพิเศษที่ผู้กระทำจะใช้วิธีการอันแยบยล ยากที่จะจับได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารพรรคจะต้องคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าร่วมทำงานกับพรรค และคอยควบคุม ดูแล สอดส่องไม่ให้คนของพรรคกระทำความผิด โดยมีบทบัญญัติให้พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคจะต้องรับผิดในการกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ไปกระทำความผิดด้วยในทำนองเดียวกันกับหลักความรับผิดของนิติบุคคลทั่วไปที่ว่า ถ้าผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลไปกระทำการใด ที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น นิติบุคคลจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลนั้นด้วย จะปฎิเสธความรับผิดชอบมิได้ คดีนี้จึงถือได้ว่ามีเหตุตามกฏหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าสมควรยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้องหรือไม่


ประเด็นที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการกระทำผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 จะต้องเป็นบุคคล คนละคนกับบุคคลผู้กระทำความผิดตามวรรค 1 และยืนยันว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการกระทำนั้น แล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมนั้น

เห็นว่า หากผู้กระทำผิดตามวรรค 1 เป็นกรรมการบริหารพรรคเสียเองย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวแล้วว่า กรรมการบริหารพรรคคนนั้นมีทั้งเจตนาและการกระทำผิดยิ่งกว่าเพียงรู้เห็นเป็นใจกับผู้อื่นเสียอีก จึงย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคคนอื่นเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการกระทำนั้น แล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมอีกต่อไป เพราะกรรมการบริหารพรรคที่กระทำผิดตามวรรค 1 ก็มีฐานะเป็นกรรมการบริหารพรรคในขณะกระทำความผิดด้วย

จึงเป็นกรณีที่ร้ายแรงกว่ากรณีบุคคลอื่นที่มิใช่หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้กระทำ อันเป็นไปตามหลักกฎหมายที่ว่าด้วยกฏหมายห้ามกระทำสิ่งชั่วร้ายใดไว้ สิ่งชั่วร้ายมากกว่านั้นย่อมถูกต้องห้ามไปด้วยซึ่งตรงกับสามัญสำนึกของสุจริตชนทั่วไป และตรงกับตรรกะที่ว่ายิ่งต้องเป็นเช่นนั้น ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้อง จึงฟังไม่ขึ้น


การที่นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตยและกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยมีบทบาทสำคัญในพรรคของผู้ถูกร้อง จึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องควบคุมและสอดส่อง ดูแลให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนบริหารอยู่ กระทำการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่กลับเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง อันเป็นความผิดที่ร้ายแรงและเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะต้องยุบพรรคการเมืองของผู้ถูกร้อง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานพฤติกรรมทางการเมืองที่ดีงาม และเพื่อให้เกิดผลในทางยับยั้ง ป้องปราม มิให้เกิดการกระทำผิด
ซ้ำขึ้นอีก


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 103 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 237 นั้น

เห็นว่า มาตรา 103 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 237 แต่เป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกัน พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง


การสิ้นสุดสภาพนิติบุคคลของพรรคการเมืองจึงเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด การยุบพรรคเป็นการสิ้นสุดสภาพของพรรคการเมืองประเภทหนึ่ง ที่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญได้ มิใช่จำกัดเฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งยุบพรรค แต่มีอำนาจสั่งให้เลิกกระทำการตามมาตรา 68 วรรค 3 เท่านั้น

เห็นว่า การร้องขอให้ยุบพรรคในคำร้องของคดีนี้ เป็นการร้องขอตามมาตรา 2 3 10 วรรค 2 ประกอบกับมาตรา 68 ศาลจึงมีอำนาจให้วินิจฉัยยุบพพรรคได้ โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้เลิกกระทำการตามมาตรา 68 วรรค 3


สำหรับการยื่นคำร้องของผู้ร้อง เป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 และได้ดำเนินการมาทุกต้องตามครรลองของศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย


ตามประเด็นของผู้ถูกร้องอ้างว่า นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรค ได้ลาออกตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2550 แล้ว จึงถือว่ากรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งแล้วนั้น

เห็นว่า แม้หัวหน้าพรรคจะลาออกแล้วส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ตามข้อบังคับของพรรคผู้ถูกร้อง ตามพ.ศ.2550 ข้อ 30 วรรค 5 เป็นผลให้กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดยังต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อ จนกว่านายทะเบียนพรรคการเมืองจะตอบรับการเปลี่ยนแปลง ของกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ต้องถือว่า นายสุนทร วิลาวัลย์ ยังคงเป็นกรรมการบริหารพรรคขณะเกิดเหตุ แม้เป็นเพียงผู้รักษาการก็ไม่ทำให้ฐานะเปลี่ยนแปลง


หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้อง ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่ง ซึ่งตรงกับมาตรา 68 วรรค 4


ส่วนข้อโต้แย้งของผู้ถูกฟ้องที่อ้างว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นกรณีที่หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละเลย ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 98 นั้น

เห็นว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งดังกล่าว เป็นการเพิกถอนตามมาตรา 68 วรรค 3 ประกอบกับ มาตรา 237 วรรค 2 และไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นไร บทบัญญัติก็ไม่สามารถลบล้างได้ ประเด็นของผู้ถูกร้องจึงฟังไม่ขึ้น


ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากนายสุนทร วิลาวัลย์ กรรมการบริหารพรรคกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ และให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ซึ่งรักษาการอยู่ เป็นเวลา 5 ปี


ต่อมา นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยคดีพิจารณายุบพรรคชาติไทย ว่า สำหรับประเด็นวินิจฉัยที่ 1 นายมณเฑียร สมประชา รองเลขาธิการบริหารพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย กระทําผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 หรือไม่ ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควรให้ยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้องหรือไม่ และประเด็นที่ 3.หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกร้องต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่


ความเห็นศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550 มีเจตนารมย์ที่จะให้การเลือกตั้งของประเทศเป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีบทบัญญัติป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งด้วยการใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใด ซื้อสิทธิ์เสียงของประชาชน เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง อันเป็นวิธีการที่นักการเมืองส่วนหนึ่งใช้กันมานาน จนเป็นความเคยชินและกลายเป็นจุดเปราะบางทางการเมืองที่นักการเมืองผู้กระทําความผิด ไม่รู้สำนึกว่าเป็นการกระทําความผิดที่ร้ายแรง ทําให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่พัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักการเมืองเหล่านั้น เมื่อเข้าสู่อำนาจแล้ว ย่อมใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ด้วยการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยไม่มีความละอาย เพื่อเตรียมไว้สําหรับใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจแสวงหาประโยชน์มิชอบต่อไป อันเป็นวัฏจักรที่เลวร้ายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและกำหนดวิธีการลงโทษไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวด เพื่อป้องกันนักการเมืองที่มีความทุจริตเหกล่านี้ ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาก่อความเสื่อมเสียทางการเมือง และเพื่อส่งเสริมนักการเมืองที่ตั้งมั่นอยู่ในสุจริตธรรม ให้ได้มีประโยชน์ทําภาระกิจที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมากยิ่งขึ้น


ในประเด็นที่หนึ่ง ที่ว่านายมณเฑียร สมประชา รองเลขาธิการบริหารพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย กระทําผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. 2550 หรือไม่


"เห็นว่าประเด็นปัญหาการกระทำผิดของนายมณเฑียร สมประชา รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ผู้ถูกร้องนั้น ขอแก้เป็นรองเลขาธิการพรรคชาติไทย ศาลขอแก้เป็นนายมณเฑียร สมประชา รองเลขาธิการพรรคชาติไทย"


ผู้ถูกร้องได้ผ่านกระบวนการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการเลือกตั้งมาแล้ว อันเป็นการดำเนินการตามรมน แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 239 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิก พ.ศ. 2550 อันเป็นกระบวนการขององค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญตามอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายกำหนดไว้ โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 วรรค 1 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือกตั้งเป็นที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณีดังกล่าวได้ ซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่า นายมณเฑียร สมประชา รองเลขาธิการบริหารพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทยก่อให้ผู้อื่นกระทํา สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจผู้อื่นกระทําการดังกล่าว อันเป็นการกระทําที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ 2550 มาตรา 53


ประเด็นที่คณะกรรมการเลือกตั้งได้วินิจฉัยไว้แล้วนั้น เป็นประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้ และเป็นประเด็นที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการเลือกตั้งที่จะเป็นผู้วินิจฉัยตามที่กฏหมายบัญญัติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 วรรค 1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 บัญญัติให้คณะกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นการทุจริตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาไว้โดยเฉพาะ ประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องการกระทํานายมณเฑียร สมประชา เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้เทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 53 หรือไม่ จึงถือเป็นที่ยุติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ศาลรัฐธรรมนูญจึงลงมติวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ในประเด็นข้อนี้


ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควรยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้องหรือไม่ เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติไว้เป็นการเด็ดขาดว่า ถ้ามีการทําความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้มีการยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่า พรรคการเมืองนั้น กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมมาตรา 68


และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ก็ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง บทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดของกฏหมายที่บัญญัติไว้เด็ดขาดแล้วว่า หากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้วมิได้มีการยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กฏหมายให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

แม้ข้อเท็จจริงพรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคจะไม่ได้เป็นผู้กระทําก็ตาม กฎหมายยังให้ถือว่าเป็นผู้กระทํา เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่อาจพิจารณาเป็นอื่นได้ ครั้งนี้เนื่องจากความผิดในการทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง เป็นความผิดที่มีลักษณะพิเศษที่ผู้กระทำจะใช้วิธีการอันแยบยลยากที่จะจับได้ กฏหมายจึงบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารพรรคคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าร่วมทำงานกับพรรค คอยควบคุม ดูแล สอดส่อง ไม่ให้คนของพรรคกระทําความผิด โดยที่บทบัญญัติให้พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองจะต้องรับผิดในการกระทําของกรรมการบริหารพรรคคนที่ไปกระทําความผิดด้วย


ในทํานองเดียวกันกับหลักความรับผิด ของนิติบุคคลทั่วไปที่ว่า ถ้าผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลไปกระทําการใดที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น แล้วก่อให้เกิดความเสียหายของบุคคลอื่น นิติบุคคลจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย จะปฎิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ คดีนี้จึงถือว่า มีเหตุตามกฏหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า สมควรยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้องหรือไม่


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า ผู้กระทำผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 จะต้องเป็นบุคคลคนละคนกับบุคคลผู้กระทำผิดตามวรรคหนึ่ง และยืนยันว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่น ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้วมิได้มีการยับยั้ง หรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมนั้น

เห็นว่าหากผู้กระทําผิดตามวรรค 1 เป็นกรรมการบริหารพรรคเสียเอง ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวแล้วว่า กรรมการบริหารพรรคคนนั้นมีทั้งเจตนาและการกระทําผิดยิ่งกว่าเพียงรู้เห็นเป็นใจกับผู้อื่นเสียอีก จึงย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมอีกต่อไป เพราะกรรมการบริหารพรรคที่กระทําผิดโดยวรรคหนึ่ง ก็มีฐานะเป็นกรรมการบริหารพรรคในขณะทําผิดด้วย จึงเป็นกรณีร้ายแรงกว่ากรณีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้กระทํา อันเป็นไปตามหลักกฏหมายที่ว่า เมื่อกฏหมายห้ามกระทำสิ่งที่ชั่วร้ายใดไว้ สิ่งที่ชั่วร้ายมากกว่านั้นย่อมถูกห้ามไปด้วย ซึ่งตรงกับสามัญสำนึกของสุจริตชนโดยทั่วไป และตรงกับหลักตรรกะที่ว่ายิ่งต้องเป็นเช่นนั้น ข้ออ้างของผู้ถูกร้องจึงฟังไม่ขึ้น ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่าพรรคได้กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้อง ดำเนินการฝ่าฝืนกฏหมาย ระเบียบและประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง ก่อนที่จะประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง โดยจัดประชุมชี้แจงให้ผู้สมัครของพรรคทราบแล้วนั้น


เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว แม้หากจะได้กระทำจริงก็มิได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกฏหมาย ตามกรณีที่กรรมการบริหารพรรคไปกระทำผิดเสียเอง เพราะในกรณีเช่นนั้นย่อมเป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า มาตรการต่างๆ ที่จัดทำไปนั้นมิได้มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด แม้ตามคำแถลงการของหัวหน้าพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจอยู่มากก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำผิดโดยผู้ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคของผู้ถูกร้องแเล้ว ผู้ถูกร้องย่อมต้องรับผิดตามบทบัญญัติกฏหมายนี้ด้วย


การที่นายมณเฑียร สมประชา รองเลขาธิการบริหารพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย มีบทบาทสำคัญในพรรคของผู้ถูกร้อง จึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องควบคุมและสอดส่องดูแลใสห้สมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนบริหารอยู่ กระทำการเลือกตั้งด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม แต่กลับมาเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง อันเป็นความผิดร้ายแรงและเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ จึงมีเหตุสมควรที่ต้องยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานพฤติกรรมการเมืองที่ดีงาม และเพื่อให้เกิดผลในการยับยั้งป้องปราบมิให้เกิดการกระทําผิดซ้ำอีก


ประเด็นที่ 3 หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550 มาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเน้นย้ำตรงกับมาตรา 68 วรรค 4 ที่บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบังคับตามกฏหมายว่า เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยุบพรรคแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองอยู่ในขณะกระทำผิด เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งศาลมิอาจใช้ดุลยพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นได้

ส่วนข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องและผู้เกี่ยวข้องที่อ้างว่าการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมือง จะต้องเป็นกรณีที่หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคแต่ละคนมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 นั้น เห็นว่า การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองในคดีนี้ เป็นการเพิกถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 3 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2 มิใช่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นไรก็ตาม บทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ก็มิอาจลบล้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ได้ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้อง และผู้เกี่ยวข้องในประเด็นทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น


ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติ 8 ต่อ 1 จึงวินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคชาติไทย เนื่องจากนายมณเฑียร สมประชา รองเลขาธิการบริหารพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย กระทําผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพื่อให้ได้มาอันเป็นการกระทำมาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศด้วยวิธี โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีททางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2


และลงมติ 8 ต่อ 1 ให้เพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่กระทำความผิดเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ในวันศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 4 ประกอบมาตรา 237 วรรคสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก