ที่มา นสพ.โลกวันนี้ | ||||||
| ||||||
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เครือข่ายเดือนตุลา และเครือข่ายราษฎรนักเขียนศิลปินประชาธิปไตย ได้จัดแถลงข่าวการตั้งศูนย์รับเรื่องข้อมูลคนหายจากการชุมนุมทางการเมืองเดือนเมษายน 2552 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน
ศูนย์รับเรื่องข้อมูลคนหายฯ นี้ ถูกตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางมนุษยธรรม และไม่มีเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง โดยหลังความรุนแรงและเหตุโกลาหล อาจมีผู้ที่สูญหาย หรือพลัดพรากจากกัน เนื่องจากผู้ที่มาชุมนุมมีจำนวนมาก และประกอบไปด้วยประชาชนทุกเพศทุกวัย
การแจ้งข้อมูล สามารถกระทำได้ 3 ทาง ได้แก่
- แจ้งด้วยตนเอง ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 17.00 น.
- แจ้งผ่านหน้าเว็บ
- http://13aprilfact.org/
- แจ้งผ่านอีเมล์ ที่ webmaster@13aprilfact.org
นอกจากนี้ ศูนย์รับเรื่องข้อมูลคนหายฯ ยังรับสมัครอาสาสมัคร เพื่อช่วยติดต่อประสานงานกับผู้ที่ร้องแจ้งข้อมูล โดยสมัครได้ที่นี่ หรือสมัครด้วยตนเองที่อนุสรณ์สถานฯ (รายละเอียดด้านบน)
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมกับเครือข่ายเดือนตุลา เครือข่ายราษฎรนักเขียนศิลปินประชาธิปไตย(PWAD)แถลงข่าวจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวข้อมูลคนหายในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเดือนเมษายน ในช่วงระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
โดยศูนย์รับเรื่องราวฯเปิดรับแจ้งข้อมูลคนหายหลายช่องทางดังนี้
-ทางตรง จะตั้งโต๊ะรับเรื่องที่อนุสรณ์สถานตั้งแต่เวลา 09.00-17.00น. ทุกวัน โดยความอนุเคราะห์ด้านสถานที่ของ
รศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์ กรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา
-ทางเว็บไซต์ ได้เปิดเวบไซต์ http://13aprilfact.orgให้เข้าไปกรอกข้อมูลแจ้งได้โดยสะดวก
-ทางอีเมลล์ webmaster@13aprilfact.org ,octnet74@gmail.com
-ทางโทรศัพท์ 083-812-5659
โดยทางศูนย์จะนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าในการปฏิบัติงานทุกๆ 3 เดือน
น.ส.สุวลักษณ์ หลำอุบล กรรมการบริหารสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์
ทางการเมืองที่ร้อนระอุที่ผ่านมามาโดยตลอด การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงพบว่าไม่ได้รับการรายงานที่พูดถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐแม้แต่น้อย แต่การใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่ที่รายงานเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง โดยรัฐบาลระบุว่ากระสุนปืนที่นำมาใช้เป็นของปลอม ไม่เป็นอันตราย ทั้งที่หลักฐานจากรูปถ่าย คลิปวิดีโอข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และการสอบถามกลุ่มผู้ชุมนุมหลายรายยืนยันว่ากระสุนที่นำมาใช้เป็นกระสุนจริง มีการเล็งปืนยิงใส่ผู้ชุมนุมจริง
เราจึงจัดให้มีศูนย์รับเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้ญาติผู้ตาย หรือผู้เสียหายมาแจ้งเรื่องร้องเรียนกับเราได้ โดยจะประสานงานกับมูลนิธิ 14 ตุ
ลา เครือข่ายเดือนตุลา เครือข่ายราษฎรนักเขียนศิลปินประชาธิปไตย เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง
น.ส.สุลักษณ์ กล่าวต่อว่า ในเบื้องต้นทราบข้อมูลจากการพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากว่ามีคนตายประมาณ 60 กว่าคน แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน ดังนั้นศูนย์ฯจะเร่งหาหลักฐานมาพิสูจน์เรื่องนี้ให้ได้ นอกจากนั้นเพื่อเป็นการแสดงความจริงและเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองต่อไป ในส่วนของสถานศึกษาจะมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น พฤษภาทมิฬ 2535 รวมถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่12-13 เม.ย.2552 นี้ด้วย โดยจะมีการเผยแพร่ข้อมูลตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และหากมีนิสิตนักศึกษาต้องการเข้าร่วมกิจกรรมก็สามารถติดต่อมาที่สนนท.ได้ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกัยภัยจากความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมือง
ทางด้านนางวิภา ดาวมณี จากเครือข่ายเดือนตุลา กล่าวยืนยันกับสื่อมวลชนว่า การทำงานของศูนย์รับเรื่องราวคนหายฯ ไม่มีความ
เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องของมนุษยธรรม ในส่วนของศูนย์รับเรื่องราวคนหายฯ ตั้งใจจะรับเรื่องคนหาย บาดเจ็บ รวมทั้งเด็กที่พลัดหลงกับผู้ปกครอง ส่วนการทำงานของเครือข่ายเดือนตุลา จะเป็นลักษณะให้คำปรึกษาเนื่องจากตนเองมีประสบการณ์ ในการร่วมชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และล่าสุด ดร.กฤตยา อาชวนิชกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน และมีประสบการณ์ การดำเนินงานศูนย์ฮอทไลน์ในเหตุการณ์พฤษภา 2535 ได้กรุณามาร่วมเป็นกรรมการที่ปรึกษา และ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ซึ่งมีประสบการณ์และเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิกระจกเงาซึ่งดำเนินการเรื่องศูนย์คนหาย มาเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคของศูนย์ในการจัดทำฐานข้อมูล โดยมีนิสิตนักศึกษาเป็นอาสาสมัครรับเรื่อง
ขณะเดียวกันนางวิภา ได้ขอให้คนที่ไม่กล้าแสดงตัวว่าได้รับความรุนแรงออกมาแสดงตัว ส่วนหน่วยงานหรือบุคคลที่ต้องการจะมาร่วมเป็นอาสาสมัครก็สามารถมาเข้าร่วมได้ นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องไปถึงสื่อมวลชนที่อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติงานในภาคสนาม ซึ่งอาจไม่ได้รับความยุติธรรมในวิชาชีพ ไม่มีโอกาสสะท้อนความจริงทางวิชาชีพเพราะข่าวหรือข้อมูลไม่ได้รับการเผยแพร่ ให้ลุกขึ้นมาสะท้อนความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น