ชาวดิน ออนเน็ต

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี
ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน
ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี
อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง
คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน

7 / มีนาคม / 2553
........


วันอังคาร, พฤษภาคม 05, 2552

ไร้จุดร่วม ไม่สงวนจุดต่าง หนทาง"สมานฉันท์"มืดมน

ที่มา



















คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน ร่วมกับกรรมการอีก 39 คน ที่มาจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว. และผู้ทรงคุณวุฒิ จะเริ่มประชุมนัดแรกในบ่ายวันที่ 7 พฤษภาคม

แม้จะดูเป็นการเริ่มต้นในการนำความไม่ลงรอยทางความคิด มาพูดกันจริงๆ จังๆ แต่อีกด้านหนึ่ง ไม่ง่ายที่จะจูบปากกันได้

หากดูประเด็นหลักๆ ที่เป็นข้อถกเถียง เรื่องด่วนที่จะดำเนินการได้เลย ได้แก่ มาตรา 190 ว่าด้วยการทำข้อตกลงระหว่างประเทศต้องให้รัฐสภาเห็นชอบ มาตรา 237 วรรคสองว่าด้วยการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค ที่จะเลยไปถึงการนิรโทษกรรมกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิอยู่ในขณะนี้ มาตรา 265 และ 266 ว่าด้วยการห้าม ส.ส.ไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยและเลขานุการรัฐมนตรีและการห้าม ส.ส.แทรก แซงการทำงานของข้าราชการ มาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมาตรา 309 ว่าด้วยการให้การกระทำการใดที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตั้งแต่หลังรัฐประหาร 49 ให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 50

ส่วนเรื่องรอง ที่สามารถไว้ไปแก้ไขได้อีกขยักก็ได้ ได้แก่ หมวดที่ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และหมวดที่ว่าด้วยการได้มาซึ่งองค์กรอิสระ

เรื่องที่ "ส.ส." พอจะเห็นตรงกันได้ ก็มีมาตรา 190 มาตรา 265 และ 266 มีเพียง ส.ว.บางส่วน และผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 1 ใน 5 ของคณะกรรมการไม่เห็นด้วย เพราะเป็นผู้ที่เคยสนับสนุนกลไกดังกล่าวในคราวร่างรัฐธรรมนูญ 50

3 มาตราดังกล่าว ถ้าจะให้สภาแก้เลยตามช่องทางที่กฎหมายบัญญัติ ก็คงทำไม่ยาก

ส่วนมาตราเร่งด่วนและเรื่องรองที่เหลือ มีทั้งหนุนทั้งค้าน แต่เงื่อนไขหลักอยู่ที่ มาตรา 237 วรรคสอง ที่จะทำให้การสมานฉันท์ล้มเอาง่ายๆ และยังจะทำให้ความไม่ลงรอยบานปลายด้วย เพราะต่างฝ่ายต่างมีมวลชนหลักแสน เป็นพลังกดดัน

เพราะมาตรา 237 วรรคสองที่จะเลยไปถึงการนิรโทษกรรมกรรมการบริหารพรรคที่โดนตัดสิทธิ ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ในพรรคเองยังมีความเห็นแตกกันระหว่าง 1.การพอจะรอมชอมได้โดยมีเงื่อนไข (เช่น แก้ได้ แต่ไม่นิรโทษ หรือ แก้ได้ ส่วนนิรโทษฯหรือไม่ ให้ศาลฎีกาตัดสินเป็นรายคน) กับ 2.การไม่รอมชอมเลย เพราะนอกจากจะทำให้ฐานเสียงที่เป็นคนเมืองซึ่งต่อต้านระบอบทักษิณ โห่ไล่แล้ว ไม่เป็นผลดีกับพรรคเพราะ "ผี" อาจไหลไปรวมกัน

ด้านบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล พรรคชาติไทยพัฒนา ชัดเจนที่สุด ทั้งคน "เบื้องหน้า" และ "เบื้องหลัง" หนุนแก้ไข มาตรา 237 วรรคสองเต็มที่ ส่วนพรรคร่วมอื่น คนเบื้องหน้ายังอิดออด แต่สุดท้ายก็คงว่าไปตามคนเบื้องหลัง ที่เหงาอยู่กับบ้านมา 3 ปีแล้ว รวมแล้วเสียงสนับสนุนให้แก้ไขมี 8 เสียง บวกกับ พรรคฝ่ายค้าน 7 เสียง เป็น 15 เสียง

งานนี้ ส.ว. และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมแล้ว 19 คน จึงกลายเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งมี 3 แนวทาง คือ แก้เลย หรือแก้ได้ส่วนนิรโทษฯหรือไม่ให้มีกลไกอีกขยัก กับไม่แก้เลย อยู่ที่ประมาณ 5 : 7 : 7

ปัจจัยดังกล่าว จึงมีเสียงในส่วนประชาธิปัตย์ พูดถึงการประชามติทั้งก่อนและหลังแก้ ไปจนถึงการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อโยนให้ ส.ส.ร.3 เป็นผู้ดำเนินการแก้แทน ซึ่งพ้องกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ส่งสัญญาณว่า "ต้องเป็นการแก้ปัญหาให้กับสังคมโดยรวม" โดยถ้าสังเกตดูด้านพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเห็นว่ามีการแสดงความเห็นแบบดังกล่าว ค่อยๆ ทยอยออกมาขอการสนับสนุนจากสังคมแล้ว

ที่สำคัญไปพ้องกับวาทกรรมหลักในสังคมที่ว่าการแก้ครั้งนี้ นักการเมืองทำกันเอง จึงเป็นการแก้เพื่อตัวเอง

จุดนั้นก็จะเป็นการแก้รัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ เข้าเกม และจังหวะการจัดแถวกลไกรัฐให้อยู่ในมือให้มากที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ไปในตัว ซึ่งไปสอดรับกับที่นายอภิสิทธิ์บอกว่า เมื่อบรรยากาศทางการเมืองไม่เขม็งเกลียว และแก้รัฐธรรมนูญเสร็จมีกติกาใหม่แล้วก็ค่อยยุบสภาเลือกตั้งใหม่

แต่เรื่องนี้ฝ่ายค้านและกลุ่มเสื้อแดงก็รู้ดี และจะเป็นข้ออ้างในการเคลื่อนพลใหญ่อยู่แล้ว

งานนี้ การคิดเอาชนะเกมแบบเบ็ดเสร็จไม่ว่าฝ่ายใดจึงยากยิ่ง กระทั่งการรอมชอมกันแบบวิน-วิน ทุกฝ่ายของนักการเมือง ก็ยังมีสังคมจับตาอยู่ ซึ่งเราๆ อาจไม่เอาด้วย

วันนี้ แนวทางที่สาม สี่ ห้า ...ฯลฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สังคมต้องช่วยกันขับเคลื่อนออกมากดดันนักการเมือง ซึ่งอย่างน้อยๆ ตอนนี้พบว่ามีแล้ว ซึ่งมาจาก นักวิชาการชั้นนำของไทย ไม่น้อยกว่า 10 คน ที่ก่อนหน้านี้จนถึงปัจจุบัน ทยอยออกมาพูดถึงการปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ไม่ให้มีความเหลือมล้ำกัน ตลอดจนรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ที่เป็นกลไกต่อเรื่องดังกล่าว รวมถึงกลไกที่เอื้อให้ประชาชนตรวจสอบนักการเมืองได้ง่ายและเห็นผลจริง และระบบกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะตำรวจ

น่าจะเป็นจุดร่วมที่ดีกว่าซึ่งทุกฝ่ายควรหันมามอง เพื่อให้ประเทศฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้...


.........................................

ข้อควรระวังในขณะนี้สำหรับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย

เปิดแผนการร้ายของ คู่หูคู่เหี้ย

คอลัมน์ ปิดไม่ลับ จากมติชน



คู่หูคู่ใหม่ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ "เนวิน"ภารกิจทะลวงพื้นที่สีแดง
เจาะตรงที่ขุมกำลังใน "พรรคเพื่อไทย" โดยที่เจ้าของขุมกำลังไม่ทันรู้ตัว


ในช่วงที่การเมืองได้พักยกจากอานิสงส์ของไข้หวัดเม็กซิโก

บรรดาฝ่ายการเมืองที่ฉลาดคิด พลิกวิกฤตเป็นโอกาสใช้ช่วงเวลานี้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะการสะสมทุนรอนและกระสุนดินดำให้มากที่สุด

"พรรคภูมิใจไทย" ภายใต้การคุมบังเหียนของ เนวิน ชิดชอบ และ "สมศักดิ์ เทพสุทิน" แกนนำ "กลุ่มมัชฌิมาธิปไตย" จึงเลือกไม่เข้าไปคลุกกับสงคราม

หันหน้ามาซุ่มทำภารกิจที่นักเลือกตั้งมืออาชีพต้องทำ ก่อนการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดขึ้น

"พรรคภูมิใจไทย" ลงทำพื้นที่กันนานด้วยการกวาดต้อนกลุ่มการเมืองในพื้นที่ของพรรคการเมืองอื่น

เจาะตรงที่ขุมกำลังใน "พรรคเพื่อไทย" โดยที่เจ้าของขุมกำลังไม่ทันรู้ตัว

การเติบโตของ "พรรคภูมิใจไทย" แกนนำรัฐบาลอย่าง "พรรคประชาธิปัตย์" ก็รู้ดี แถมยังรู้เห็นเป็นใจให้ด้วยซ้ำ

ว่ากันว่า คู่หูคู่ใหม่ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ "เนวิน" ตกลงกันแล้ว ว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้น ขอมอบภารกิจทะลวงพื้นที่สีแดงให้ "ภูมิใจไทย" ไปดำเนินการ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม อาทิ จ.เชียงใหม่ เชียงราย อุดรธานี และจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน

ถึงขนาดมีคำมั่นจาก "สุเทพ" ว่า "ที่เชียงราย ผมให้คุณ (เนวิน) จัดการทั้งจังหวัด"

ไม่รู้ "เนวิน" ไปจัดการมาอย่างไร แต่มีคนเห็นแกนนำฐานเสียงสำคัญในเชียงรายของ "เพื่อไทย" เดินเข้าออกชั้น 14 ของอาคารสิริภิญโญอยู่บ่อยครั้ง

คนแรก คือ "เสี่ยติ่ง" สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ และที่ตามมาไม่นานมานี้คือ "เสี่ยเล็ก" มงคล จงสุทธนามณี และ ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มการเมืองที่เหนียวแน่นกับ ยงยุทธ ติยะไพรัช บิ๊กตัวจริงของ จ.เชียงราย และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ "เพื่อไทย" ครองได้ทั้งจังหวัด

ไม่มีใครบอกได้ว่า "มนต์เขมร" ขลังเพียงใด นอกจากคำการันตีของผู้มาเยือนชั้น 14 ว่า "ที่นี่น้ำท่าบริบูรณ์" จริงๆ...


...................................................



แน่นอนครับ ความสมานฉันท์ มันก็คือคำพูดที่หลอกทุกฝ่ายให้หยุด เพื่อตัวเองจะหาทางกลบเกลื่อนความผิดของตัวที่โดนโจมตี และมีหลายกรณี คนทั้งประเทศยอมรับไม่ได้ อาศัยจัดงาน 5 พ.ค.52 บังหน้า ออกปากว่าจะยุบสภา แต่ในการทำงานทุกเรื่องสร้างทีมงานมาถ่วงเวลาไว้แล้ว ปชป. กับ ภท. นับวันยิ่งแสดงพฤติกรรม ลับ ลวง พราง ออกมา ให้ประชนเห็น ว่าที่ทำทุกอย่างเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจตนและพวกพ้องในขณะที่ตัวนำออกมาพูดเรื่อง สมานท์ฉัน แต่ ในทางปฏิบัติ ก็ให้ ลิ่วล้อ หาช่องทาง รุกฆาต โจมตีฝ่ายตรงข้ามทุกรูปแบบ แต่ลืมไปว่า ดาบนั้นจะคืนสนอง เอาเลยทุมมาเลย ทุนที่มีอยู่ ชาวบ้านรอสนับสนุน แต่ พอถึงเวลาเลือกตั้ง คงได้เห็นกัน..................


..................................................................

ที่มาจาก คอลัมน์ เหล็กใน ข่าวสด

พรรคประชาธิปัตย์งัดอาวุธใหม่ แต่เก่าคร่ำครึ พอๆกับอายุพรรค ซัดเข้าใส่ศัตรูทางการเมืองอีกแล้ว

ปลุกผีคอมมิวนิสต์

พรรคประชาธิปัตย์งัดอาวุธใหม่ แต่เก่าคร่ำครึ พอๆกับอายุพรรค ซัดเข้าใส่ศัตรูทางการเมืองอีกแล้ว

นั่นคือข้อหาคอมมิวนิสต์

โทรโข่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มองการแต่งชุดคอสเพลย์ เข้ามอบตัวกับตำรวจของนายสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำนปช.นครศรีธรรมราชว่าเป็นการท้าทายอำนาจรัฐ

นอกจากนี้ ยังระบุว่ามีแกนนำกลุ่มไทยรักไทยเดิมฝักใฝ่ พยายามจะฟื้นฟูและดำเนินแนวทางเดียวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

พร้อมกับเชื่อมโยงกรณีนายจักรภพ เพ็ญแข ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศว่าอาจจะต้องจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้

พรรคประชาธิปัตย์กำลังสนุกสนานอยู่กับการผลักคู่แข่งทางการเมือง และผลักกลุ่มคนเสื้อแดงให้ไปอยู่ฟากหนึ่ง

ด้วยการปลุกผีคอมมิวนิสต์ขึ้นมาอีกครั้ง

นั่นคือยัดข้อหาล้มล้างทุกสถาบัน ทั้งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ถ้าหากจะไล่ต้อนกันจริงๆ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ นายประพันธ์ คูณมี นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ หรือแม้แต่นายสุทัศน์ เงินหมื่น ก็คงไม่มีทางอยู่พรรคนี้ได้

แทนที่จะหาวิธีสร้างความสมานฉันท์ ประสานรอยร้าวที่ลงรากลึกในสังคมไทยในขณะนี้

แต่กลับขยายบาดแผลให้กว้างขึ้น เหมือนต้องการจะให้เกิดสงครามประชาชนขึ้นมาอีกหรืออย่างไร

สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯพูดว่าจะสร้างความสามัคคีปรองดอง ลดช่องว่างความรู้สึกเรื่อง 2 มาตรฐาน กลับกลายเป็นเรื่องที่ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ออกมาพูดอีกอย่าง

ข้ามหัว ฉีกหน้าหัวหน้าพรรคตัวเองไปได้

ไม่เท่านั้น ที่ผ่านมามีการส่งทหารลงพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน ไปเรียกประชุมแกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมกับยัดข้อมูลด้านเดียว

ไปเจออะไรบ้าง ชาวบ้านมีปฏิกิริยาต่อทหารและรัฐบาลอย่างไร ชี้แจงแล้วเขาฟังหรือเปล่า ได้ผลหรือไม่ คงได้รู้เห็นมากับตาตัวเองแล้ว

รัฐบาลต้องการสลายสีเสื้อ ให้คนไทยกลับมาสมัครสมานสามัคคีกัน แต่ไล่ต้อนแจ้งข้อหา เอาเป็นเอาตายกับเสื้อแดง กลับละเลยกับอีกสี ไม่กล้าแตะ เพราะเส้นใหญ่

ก็เลยยิ่งทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ไม่มีทางจะสมานบาดแผลความขัดแย้งลงได้

ยิ่งคนในพรรครัฐบาล ขยันปั้นน้ำ มันปาก ออกมาปลุกผีที่แทบจะหมดฤทธิ์ไปแล้วขึ้นมาใหม่

ปัญหาต่างๆ ก็จะยิ่งยุ่งขึ้น!?

......................................

ฉายา ผู้ดีหน้าด้าน ของมาร์คกระสัน คงไม่ใช่การกล่าวหาลอยๆแน่ ถ้ารูปการมันออกมาแบบนี้

คงจะจริงแน่ กับคำว่า ไร้จุดร่วม ไม่สงวนจุดต่าง หนทางสมานฉันท์ มืดมน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก