"ผมไร้ข้อกังหาใดๆทั้งสิ้น ว่าทหารไทยนี่แหละที่ยิงผม" โดย Elizabeth Garrett
ที่มา สถาบันข่าวต่างประเทศ
แปล ไทยอีนิวส์
6 กรกฎาคม 2553
หน่วยฉุกเฉินได้นำตัวนักข่าวชาวฮอลแลนด์ ผู้ซึ่งถูกยิงระหว่างการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุุมนุมประท้วง "เสื้อแดง" กับทหารไทย ไปยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พ.ค. REUTERS ภาพ : สตริง / Photo: REUTERS/Stringer

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. องค์กรสื่อนานาชาติ หรือ IPI ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้มีการสอบสวนที่เน้นว่าต้องโปร่งใสอย่างเร่งด่วนที่สุด ต่อกรณีการฆ่าและการทำร้ายให้บาดเจ็บที่มีต่อผู้สื่อข่าวระหว่างการปะทะกันในเดือนเม.ษ. และพฤษภาคมมาที่ผ่าน และพฤษภาคมที่ผ่านมา
ความรุนแรงในประเทศไทยครั้งดังกล่าวทำให้นักข่าวสองคนต้องเสียชีวิต และมีนักข่าวบาดเจ็บอย่างน้อยห้าราย
ทั้งๆที่มีการเรียกร้องจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงองค์กรสื่อนานาชาติ แล้วนั้น ปรากฏว่ายังไม่มีการจับกุมตัวผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด
นักข่าวคนหนึ่งที่ถูกยิงได้แก่นาย Michel Maas ซึ่งเป็นชาวดัชต์ ทำงานภายใต้สังกัดวิทยุเนเธอร์แลนด์ (NWR) และ นสพ.Volkskrant ในฮอลแลนด์ เขาถูกยิงที่ไหล่ระหว่างความโกลาหลที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการโจมตีที่ป้อมปราการของคนเสื้อแดงโดยพวกทหารไทย
นายมาสขณะนั้นอยู่กับคนเสื้อแดงในขณะที่พวกทหารกำลังเริ่มโจมตี ในตอนนั้นเขาบอกกับบรรณาธิการหนังสือ Volkskrant ว่า อันตรายที่สุดในขณะนั้นก็คือพวกทหาร "เพราะว่าพวกเขายิงทุกอย่างที่เคลื่อนที่ และยิงโดยไม่ถามก่อนด้วย แม้ว่าจะเป็นนักข่าว"
องค์กร IPI ได้ขอสัมภาษณ์กับนาย Maas โดยมีรายละเอียดดังนี้
IPI : มันเป็นยังไงบ้างสำหรับนักข่าวที่รายงานข่าวความไม่สงบในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา
MM: ปัญหาใหญ่คือการหาให้เจอว่าความจริง จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร เพราะว่าสื่อไทยเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งรวมไปถึงหนังสือพิมพ์ "อิสระ"(ประชด) คือ เนชั่นฯ และบางกอกโพสต์ โดยเฉพาะเนชั่นฯ มันเป็นอะไรที่เทียบเคียงได้กับหนังสื่อ"โพรพาแกนด้าต่อต้านพวกเสื้อแดง" สิ่งนี้แหละที่ทำให้หน้าที่ของนักข่าวต่างประเทศยากยิ่งยวดและสำคัญมากๆ
และการที่สื่อต่างประเทศจำต้องจับข่าวจากสำนักข่าวท้องถิ่น และเพราะว่าไม่มีแหล่งข้อมูลข่าวใดๆเชื่อถือได้ คนที่ทำงานจำต้องใช้ตาและหูกันแบบสุดๆ และตรวจสอบข่าวกันทุกเม็ดและทำซ้ำแล้วซ้ำอีก
ในทางปฏิบัติแล้ว การทำงานมันยุ่งๆที่ต้องผ่านจุดตรวจ โดยเฉพาะจุดตรวจของทหาร ผมถูกกักมากกว่าหนึ่งครั้ง และหลายครั้งทหารยืนยันว่าผมจะต้องไม่ถ่ายรูปในกรุงเทพฯ พวกเขาไม่ค่อยชอบช่างภาพเท่าไหร่
พวกทหารได้ออกคำเตือนหลายต่อหลายครั้งกับนักข่าว โดยเฉพาะที่บอกว่านักข่าวต่างประเทศคือ "เป้า" ของผู้ก่อการร้าย มีข่าวลือหลายครั้งว่าพวกเสื้อแดงได้คุกคามนักข่าว และเตือนไม่ให้พวกเขาเข้าไปยังที่ตั้งของคนเสื้อแดง แม้ว่าผมจะรู้ว่าคนเสื้อแดงได้คุกคามนักข่าวในพื้นที่คนสองคน และนักข่าวต่างประเทศบางครั้งก็ถูกกักไม่ให้เข้าไปยังพื้นที่ของคนเสื้อแดง หรือถูกเรียกให้ออกจากพื้นที่ ผมก็ยังได้ไปที่ชุมนุมซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับโรงแรมของผมหลายต่อหลายครั้งในหนึ่งวัน และได้รับการตอบรับอย่างเป็นมิตรอย่างยิ่ง ผมสามารถรายงานอย่างอิสระ และกับใครก็ได้ที่ผมต้องการ และกระทั่งในเวลาที่กำลังระอุ
IPI: จริงๆแล้วเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 19 พ.ค.
MM: ผมเห็นผ่านทางทีวีว่าพวกทหารได้เริ่มเปิดฉากทลายกำแพงที่ฝั่งถนนสีลม ผมจึงเข้าไปที่ชุมนุมโดยใช้ช่องทางอีกฝั่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณสองกิโลจากถนนสีลม ในฝั่งนี้นั้นทุกอย่างเงียบเชียบ คนเสื้อแดงจำนวนมากกำลังตามข่าวผ่านทางทีวีในขณะที่เวทีกลางมีกำลังมีการปราศรัยโดยแกนนำไปเรื่อยๆ
MM: ผมเห็นผ่านทางทีวีว่าพวกทหารได้เริ่มเปิดฉากทลายกำแพงที่ฝั่งถนนสีลม ผมจึงเข้าไปที่ชุมนุมโดยใช้ช่องทางอีกฝั่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณสองกิโลจากถนนสีลม ในฝั่งนี้นั้นทุกอย่างเงียบเชียบ คนเสื้อแดงจำนวนมากกำลังตามข่าวผ่านทางทีวีในขณะที่เวทีกลางมีกำลังมีการปราศรัยโดยแกนนำไปเรื่อยๆ
ผมเดินไปตลอดจนถึงอีกฝั่ง และเห็นพวกทหารบุกเข้ามา และในขณะที่ผมอยู่ห่างออกไปจากแนวกำแพงประมาณ 200 เมตร ผมเห็นควัน และหลังจากนั้นไม่นานพวกทหารก็แหวกม่านควันเดินออกมา พวกเสื้อแดงได้เตรียมขวดน้ำมันเล็กๆและไม้ไผ่เพื่อที่จะเอาไว้ใช้ต่อสู้ ผมเห็นชายคนหนึ่งถือปืนสั้นที่ค่อนข้างโบราณ และแม้กระทั่งอยู่ใกล้เหตุการณ์ขนาดนี้ที่แนวหน้า ผมก็ยังไม่สังเกตเห็นสัญญาณใดๆของ "อาวุธร้ายแรง" ที่พวกเสื้อแดงถูกคาดว่าจะมี โดยเฉพาะตามที่อ้างมาจากสื่อของรัฐฯ
ในขณะนั้นผมอยู่ร่วมกับกลุ่มผู้สื่อข่าวต่างประเทศประมาณ 20 คน ผู้ซึ่งก็กำลังชมเหตุการณ์ร่วมกับผม พวกเราพยายามหาที่หลบกำบังตามมุมตึก หลังต้นไม้ แต่ก็ไม่มีใครดูกังวล ต่อมาพวกทหารก็ได้เริ่มที่จะยิงแก๊สน้ำตา และยิงขึ้นฟ้าเพื่อที่จะสลายพวกผู้ชุมนุม
การเปิดฉากยิงเกิดขึ้นในขณะที่ผมกำลังรายงานสดทางวิทยุ การยิงเกิดขึ้นจากฝ่ายเดียวคือฝ่ายทหาร และพวกเขาไม่ได้ยิงขึ้้นไปบนฟ้า พวกคนเสื้อแดงและนักข่าวเริ่มวิ่งหนี ผมก็วิ่งด้วย เพราะจากประสบการณ์ได้สอนผมว่า ในเหตุการณ์อย่างนี้ต้องตามคนท้องถิ่นดีที่สุด เพราะคนพวกนี้ได้เคยผ่านสมรภูมิก่อนๆมาแล้วและรู้ว่าเมื่อไหร่จะอันตรายจริงๆ
แต่งวดนี้ผมตัดสินใจผิด เพราะการวิ่งหนีทำให้ผมต้องออกไปจากที่กำบังมุมตึกและต้องอยู่ในที่โล่ง ผมถูกยิงทันทีที่หลัง มันยังไม่ทำให้ผมล้มลงดังนั้นผมจึงยังวิ่งต่อไป และหลังจากนั้นประมาณสองร้อยเมตรก็มีคนนำผมขึ้นมอเตอร์ไซต์และนำผมไปส่งโรงพยาบาลตำรวจที่อยู่ภายในที่ชุมนุม
ผมโชคดีอย่างยิ่งยวด กระสุน (ซึ่งชัวร์ว่าเป็นเอ็มสิบหก) พลาดปอดผมไปคือครึ่งนิ้ว แต่โดนไหล่และซี่โครงและหยุดภายในกล้ามเนื้อซึ่งก็ยังอยู่ตรงนั้น รอเวลาเพื่อการผ่าตัดเอาออก นักข่าวชาวอิตาเลียนไม่โชคดีอย่างนั้น นาย Fabio Polenghi ตายในที่เดียวกับที่ผมโดนยิง นักข่าวชาวคานาดาก็ดูเหมือนว่าจะได้รับบาดเจ็บในจุดจุดเดียวกันอีกด้วย
IPI: คุณเชื่อว่าใครยิงคุณ
MM: ผมไร้ข้อกังหาใดๆทั้งสิ้น ว่ากองทัพไทยนี่แหละที่ยิงผม ไม่มีคนอื่นหรอกที่ยิงผม นี่พูดตามที่ผมบอกได้ พวกทหารมีสไนปเปอร์บนทางรถไฟลอยฟ้าเหนือหัวเรา พวกทหารในสวนลุมก็อยู่ด้านหน้าเรา มันครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดแล้ว และกองกำลังก็เดินคืบหน้ามาในทิศทางที่ผมโดนยิง
การที่ปรากฏว่าตัวเลขเหยื่อเป็นชาวต่างชาติเป็นสัดส่วนที่สูง ประกอบกับการประกาศเตือนล่วงหน้าโดยกองทัพ ได้ทำให้มีข้อสงสัยว่า นักข่าวชาวต่างชาติอาจะเป็นรายการที่ต้องยิงจริงๆ และไม่ใช่ยิงโดยพวก "ผู้ก่อการร้าย" แต่ยิงโดยพวกทหาร พวกเขาอ้างไม่ได้ว่าพวกเขาแยกแยะระหว่างคนเสื้อแดงกับชาวต่างชาติไม่ออก
ผมถูกสังเกตเห็นอย่างง่ายว่าแตกต่างกับคนอื่นในขณะที่อยู่ในกลุ่มฝูงชน จากความสูงผม (ผมสูงกว่าคนไทยโดยเฉลี่ย) จากเสื้อผ้าผม สีผมรวมทั้งสีผิว ส่วนคุณฟาบริโอ โปลองกี่ ก็ใส่เสื้อเกราะและหมวกยืนเด่นแปลกแยกออกจากผู้ประท้วง พวกทหารแก้ข้อกล่าวหาได้ทางเดียวโดยอาจจะอ้างว่าก็เพราะพวกเขายิงไม่เลือกอย่างเท่าเทียมไปยังฝูงคนนี่เอง (ไม่ได้ยิงเหนือศีรษะ ผมโดนยิงใต้ระดับไหล่ ฟาบริโอโดนยิงที่ท้อง)
IPI: เหตุการณ์ดังกล่าวบอกอะไรคุณเกี่ยวกับมุมมองที่เขามองนักข่าว
MM: ผมไม่รู้จะตอบอย่างไร ก่อนหน้านี้ผมได้ยินถึงคำบ่นว่านักข่าวต่างประเทศเข้าข้างผู้ประท้วงมากเกินไป และมันชัดที่ว่าพวกทหารไม่ชอบที่พวกเรารายงานเหตุการณ์การปะทะก่อนหน้านี้ซึ่งจบลงที่ความล้มเหลวของฝ่ายกองทัพของรัฐบาล เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้พวกเขาคิดว่าพวกนักข่าวในพื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงอาจจะมีส่วนร่วมหรืออะไรๆก็ตาม ซึ่งอาจจะนำให้พวกเขาคิดว่ามีเหตุผลพอที่จะยิงพวกเราเช่นเดียวกับที่ยิงผู้ประท้วง
IPI: แล้วอย่างนั้นพวกเขาควรจะมองนักข่าวอย่างไรล่ะ
MM: ก็มองดังเช่นคนที่เขาควรจะปกป้อง แม้ในช่วงมีการโจมตี พวกเขาน่าจะออกประกาศเตือนและให้โอกาศกับนักข่าวที่จะออกจากพื้นที่ แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้น พวกเขาก็แค่ยิงเลย ไม่เตือน
IPI: มีปฏิกิริยาอะไรจากเจ้าหน้าที่ทางการดัชต์หรือไทยต่อการยิงคุณ
MM: กระทรวงการท่องเที่ยวส่งอีเมล์มาหาผมโดยเสอนว่าจะดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรักษา แต่ผมเห็นว่ามันค่อนข้างใจดีกับคนต่างชาติ ก็เพราะเพื่อรักษาภาพพจน์ของการท่องเที่ยวไทย
ผมได้คุยกับเอกอัครราชทูตดัชต์ในกรุงเทพฯอย่างดี เขาบอกว่าเขาจะบอกให้รัฐบาลดัชต์เรียกร้องให้มีการเปิดเผยโดยรัฐบาลไทย แต่ผมยังไม่ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
IPI: มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าใครยิงคุณบ้างไหม
MM: เท่าที่ผมรู้-ไม่มี ไม่มีกระทั่งรายงานจากตำรวจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
IPI: สถานการณ์ของนักข่าวในไทยเป็นอย่างไร เท่าที่คุณรู้
MM: โดยรวมแล้วเสรีภาพสื่อในไทยยังมีอยู่ แต่ยากที่จะบอกว่าเสรีภาพมันกินขอบเขตแค่ไหน พวกสื่อไม่เซ็นเซอร์ตัวเองก็โดนควบคุมโดยรัฐ และก็มีหัวข้อที่ไม่มีใครที่ได้รับอนุญาตให้เขียนได้คือ หัวข้อที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
IPI: คุณจะแนะนำกับนักข่าวคนอื่นอย่างไรเมื่อต้องรายงานสถานการณ์แบบนี้อีก
MM: สถานการณ์มันแตกต่างกันไป คุณต้องระวังตลอดและหาคนท้องที่ ที่คุณไว้ใจได้
ผมอาจจะบอกเพิ่มว่า ขอให้เอาเสืื้อกันกระสุนไปด้วย แต่อย่าไว้ใจมาก เพราะฟาบริวโอก็โดนยิงทั้งๆที่ใส่เสื้อเกราะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น