ชาวดิน ออนเน็ต

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี
ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน
ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี
อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง
คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน

7 / มีนาคม / 2553
........


วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 11, 2552

ปริศนาแห่งปริศนา63ปีกรณีสวรรคต


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา บอร์ดฟ้าเดียวกัน
9 มิถุนายน 2552

เหตุการณ์กรณีสวรรคต(อ่านรายละเอียดคลิ้กที่นี่)ในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือ 63 ปีล่วงมาแล้ว ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีกครั้งโดยนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งเขียนกระทู้ในเวบไซต์ฟ้าเดียวกันในหัวข้อ(พรีวิว) ข้อมูลใหม่กรณีสวรรคต : หลวงธำรงระบุชัด ผลการสอบสวน ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริงเอาไว้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้

อย่างไรก็ตามนับถึงวันนี้(9มิถุนายน2552)ยังไม่ปรากฎว่าดร.สมศักดิ์ได้นำเสนอบทความฉบับเต็มแต่อย่างใด กระนั้นก็ดีได้มีผู้อ้างว่า มีข้อมูลเอกสารเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้เปิดเผยพล็อตเรื่องที่สำคัญไว้ โดยที่ดร.สมศักดิ์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องนี้แต่อย่างใด

ดร.สมศักดิ์เขียนรายละเอียดกระทู้เรื่องพรีวิวฯว่า

ผมเริ่มศึกษากรณีสวรรคตอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน นอกจากอ่านหนังสือที่มีอยู่ในขณะนั้นแล้ว ผมยังได้มีโอกาสสัมภาษณ์บุคคลที่มีชีวิตร่วมสมัยทศวรรษ 2490 ที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะนั้นหลายคน

รวมทั้งคนที่ได้ชื่อว่าเป็น "ลูกศิษย์ปรีดี" เช่น คุณสงวน ตุลารักษ์, คุณจรูญ สืบแสง และคุณชิต เวชประสิทธิ์ (คุณชิต เป็นหนึ่งในคณะทนายจำเลย นอกจากนี้ ก่อนรัฐประหาร 16 กันยายน 2500


ปรีดี พนมยงค์

คุณชิตเป็น 1 ใน 2 "ลูกศิษย์อาจารย์" ที่ "นำสาร" จากจอมพล ป ไปให้ปรีดีที่เมืองจีน เสนอให้กลับมาร่วมมือกันต่อสู้กับพวกนิยมเจ้า โดยรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นใหม่ - ผมเล่าเรื่องนี้ไว้ในบทความเรื่อง "ปรีดี พนมยงค์, จอมพล ป., กรณีสวรรคต และรัฐประหาร 2500" รวมอยู่ในหนังสือของผม ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง, หน้า 31-35 และ "50 ปีการประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498" ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2548 หรือฉบับออนไลน์ที่ http://somsakwork.blogspot.com/2006/06/blog-post.html )

ท่านผู้หญิงพูนศุข ผมก็เคยได้พบพูดคุยด้วยครั้งหนึ่ง (ด้วยความช่วยเหลือของคุณ"ป้า"ฉลบชลัยย์ พลางกูร) แต่เมื่อผมถามถึงกรณีสวรรคต ท่านผู้หญิง ไม่อธิบายอะไร นอกจากเสนอให้ผมไปอ่านงานของปรีดีเองที่เพิ่งตีพิมพ์ในช่วงนั้นภายใต้ชื่อ คำตัดสินใหม่ กรณีสวรรคต (ตัวงานนี้จริงๆเป็นคำฟ้อง ซึ่งปรีดีเป็นผู้ร่างเอง) อันที่จริง งานชิ้นนี้ ในความเห็นของผม ไม่ได้อธิบายกรณีสวรรคตในแง่เกิดอะไรขึ้นนัก แม้จะมีประเด็นทางข้อกฎหมายบางอย่างที่น่าสนใจ

ข้อมูลอย่างหนึ่งที่ผมได้จากการสัมภาษณ์หลายคนคือ ปรีดีเอง จะไม่ยอมพูดถึงกรณีสวรรคตโดยเด็ดขาด ไม่ว่ากับใคร (เรื่องนี้ ปราโมทย์ นาครทรรพ ซึ่งไม่ใช่ "ลูกศิษย์ปรีดี" เคยเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยแวะไปเยี่ยมปรีดีที่ปารีส ระหว่างที่เดินเล่นคุยกันไป เขาเอ่ยปากถามปรีดีขึ้นมาถึงกรณีสวรรคต ปรากฏว่า ปรีดีหยุดพูดทันที และนิ่งเงียบไม่ยอมพูดอะไรทั้งสิ้น จนเขาต้องเปลี่ยนเรื่องคุยเอง)

แต่อีกอย่างหนึ่งที่ผมได้รับการบอกเล่าเสมอ โดยเฉพาะจาก "ลูกศิษย์อาจารย์" คือ "อาจารย์ปรีดี เป็นผู้ปกป้องราชบัลลังก์ และยอมเสียสละตัวเองอย่างสูง" นัยยะของข้อความที่มีลักษณะเชิง "รหัส" (coded message) แบบนี้คือ ปรีดีรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต แต่ไม่ยอมเปิดเผยออกไป เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ทั้งๆที่ตัวเองต้องได้รับผลร้ายจากการไม่พูดนี้

แต่เมื่อผมพยายามซักให้ผู้เล่าขยายความว่า การไม่พูดความจริง จะเป็นการปกป้องราชบัลลังก์อย่างไร ก็มักได้รับความเงียบหรือการปฏิเสธที่จะพูดต่อเป็นคำตอบ (อย่าลืมว่า นี่คือช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ 2520 ซึ่งปรีดีเองยังมีชีวิตอยู่ และกรณีสวรรคตยังมีลักษณะ "ต้องห้าม" มากกว่าปัจจุบันนี้)

หลายปีหลังจากนั้น ผมมองว่า การไม่ยอมพูดสิ่งที่เขารู้หรือคิดเกี่ยวกับกรณีสวรรตโดยแท้จริง เป็น "ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์" ครั้งที่สอง ของปรีดี (เกี่ยวกับ "ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์" ครั้งแรกของปรีดีในทัศนะของผม ดูบทความชื่อนี้ใน ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง) แต่ก็เป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจในตัวเองมากๆ ที่ใครสักคนในฐานะอย่างปรีดี จะคิดว่า "ยอมเสียสละ" หรือยอม "รับเคราะห์" ในเรื่องอย่างกรณีสวรรคตเสียเอง (อันที่จริง แน่นอนว่า ไม่เพียงปรีดี ที่ต้อง "รับเคราะห์" ในเรื่องนี้ ผู้ที่ "รับเคราะห์" มากที่สุด คือ คุณชิต, คุณบุศย์ และ คุณเฉลียว 3 จำเลยที่ถูกประหารชีวิตไป - ผมได้รับการบอกเล่าในลักษณะเดียวกันว่า 3 ท่านนั้น ได้เสียสละอย่างสูงเพื่อสถาบันกษัตริย์เช่นกัน)

อะไรคือสิ่งที่ปรีดีไม่ยอมพูดเกี่ยวกับกรณีสวรรคต? ปรีดีไม่ใช่เป็น "พยานรู้เห็นในที่เกิดเหตุ" ก็จริง เพราะไม่ได้อยู่บริเวณพระที่นั่งบรมพิมาณ ในแง่นี้ เขาย่อมไม่สามารถ "เห็น" ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในที่นั้น (ไม่เหมือนคุณชิต และคุณบุศย์ - คุณเฉลียวเองก็ไม่เกี่ยวข้องกับที่เกิดเหตุเช่นกัน อันที่จริง เรียกว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคตเลย แต่ถูกลากเข้าไปเป็นจำเลย เพื่อเป็นข้ออ้างเชื่อมโยงปรักปรำปรีดีเท่านั้น)

แต่กรณีสวรรคตมีผลกระทบต่อชีวิตของปรีดีโดยตรงมหาศาลเพียงใด คงไม่ต้องอธิบาย ยังไม่ต้องพูดถึงผลกระทบมหาศาลต่อประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ปรีดีมีบทบาทสำคัญอยู่ด้วย ดังนั้น อย่างไรเสีย ปรีดีจะต้องคิดและพยายามหาคำอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะหลังจากเขาถูกรัฐประหารหมดอำนาจไปโดยข้ออ้างกรณีสวรรคตด้วย แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปรีดีจะต้องมีข้อสรุป หรืออย่างน้อยที่สุดคือ ทฤษฎีหรือสมมุติฐานเกี่ยวกับกรณีสวรรตแน่ (และไม่ใช่เพียงแค่สรุปว่า "อธิบายไม่ได้" - ถ้าเราพิจารณาถึงความสำคัญของกรณีนี้ต่อตัวเขาเอง) อันทีจริง

หลังจากผมได้ศึกษากรณีสวรรตมาหลายปี ผมพบว่า การอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในกรณีนั้น หาใช่เรื่อง "ลึกลับซับซ้อน" อย่างมากมายแต่อย่างใด "ปริศนา" ที่แท้จริงของกรณีนี้ ไมใช่อยู่ที่การอธิบายไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่อยู่ที่ว่าทำไมการอธิบายที่ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก จึงไม่ได้รับการนำเสนอแต่ต้น (ดูบทความชุด “ปริศนากรณีสวรรคต” ตอนที่ 1 และ 2 ของผม ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551 หรือ ฉบับออนไลน์ที่ http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/blog-post.html ซึ่งยิ่งทำให้ผมมั่นใจเด็ดขาดว่า ปรีดีเองจะต้องสามารถอธิบายได้หรือมีคำอธิบายกรณีนี้แน่นอน

แต่เรื่องนี้ – ที่ว่าปรีดีต้องมีทฤษฎี/คำอธิบายเกี่ยวกับกรณีสวรรคต – ผมไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้เป็นเวลานาน และโดยเฉพาะไม่สามารถยืนยันได้ว่าทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าว(ถ้ามี) จะออกมาในรูปใด

. . . . . . . จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้

ได้มีผู้อ่านบางท่านได้มอบเอกสารสำคัญชุดหนี่งให้ผมเพราะเห็นว่าผมสนใจกรณีสวรรคต เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ซึ่งปรีดีไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากเขา (พูดด้วยภาษาสมัยนี้คือ เป็น นายกฯ "นอมินี" ของปรีดีนั่นเอง) ได้เคยระบุอย่างชัดเจนว่า หลักฐานที่ได้จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ในสมัยที่เขาเป็นรัฐบาล บ่งบอกว่าใครคือผู้ต้องสงสัยแท้จริงในกรณีสวรรคต (แน่นอน ไม่ใช่ 3 ท่านที่ตกเป็นจำเลยหลังรัฐประหาร) ที่สำคัญ การระบุของหลวงธำรงเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นเรืองที่มาทำหลังเหตุการณ์นับสิบปี แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นเอง คือหลังรัฐประหารเพียงไม่กี่เดือน (หรือหลังกรณีสวรรคตไม่ถึง 2 ปี)


หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

พูดง่ายๆคือ ตั้งแต่ไม่นานหลังการสวรรคต และก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 หลวงธำรง – และแทบไม่ต้องสงสัยว่าตัวปรีดีเอง – มีข้อสรุปอยู่แล้วว่าใครคือผู้ต้องสงสัยแท้จริง .....

หมายเหตุ: นี่เป็น "พรีวิว" pre-view หรือ "หนังตัวอย่าง" โปรดคอยติดตามบทความฉบับเต็ม เร็วๆนี้ (นี่ไม่ใช่ “ตอนที่ 3” ของบทความชุด “ปริศนากรณีสวรรคต” เพราะ”ข้อมูลใหม่” ที่ผมได้รับนี้ ได้รับหลังจากผมได้ทำบทความชุด “ปริศนา” ไปแล้ว และมีความน่าสนใจในตัวเอง ผมจึงแยกเขียนออกเป็นบทความต่างหาก)


ปริศนาที่ยังเป็นปริศนา..

ในกระทู้ที่ดร.สมศักดิ์เขียนไว้นั้น มีผู้ใช้นามแฝงว่าcele อ้างว่าสนิทสนมกับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยานายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดกรณีสวรรคตได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "หลวงธำรงฯสรุปว่า เป็นการฆาตกรรมโดยระบุว่า...... แต่ยังมีการโต้แย้งเรื่องบทลงโทษว่าจะเอาผิดได้หรือไม่ โดยบางคนยังแย้งว่าไม่สามารถลงโทษได้เพราะรัฐธรรมนูญคุ้มครอง บางคนแย้งว่าเอาผิดได้ เพราะความผิดเกิดก่อน โดยจะให้จุมภฏ(พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต) มาแทน

อ่านมานานแล้วครับ"

ซึ่งดร.สมศักดิ์ได้เขียนในกระทู้ถามกลับถึงผู้ใช้นามแฝงceleว่า"ขอเรียนถามว่า พอจะบอกได้หรือเปล่าครับ ว่าอ่านจากที่ใด?
เพราะเท่าที่บรรยายมา มากกว่าที่ผมได้อ่านเสียอีก อันนี้ถามด้วยความอยากรู้จริงๆขอบคุณ"

ผู้ใช้นามแฝงว่าceleได้อ้างว่าเขาสนิทสนมกับท่านผู้หญิงพูนศุข และได้ศึกษากรณีนี้มานาน ทั้งได้ระบุว่า "ผมเห็นว่า อ.สมศักดิ์ ใกล้ที่จะเขียนเรื่องนี้เสร็จแล้ว ผมอยากให้ทุกท่านที่สนใจเรื่องนี้อดใจรอ อ.สมศักดิ์ อีกนิด เพราะมันเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งน่าจะเป็นเอกสารชิ้นเดียวกับที่ผมเคยอ่าน และถ้ามีอะไร ที่ผมรู้ ที่ของอาจารย์ ไม่มีผมจะเติมให้ครับ "

ข่าวลือเรื่องควงและพี่น้องปราโมชวางแผนสถาปนาให้พระองค์เจ้าจุมภฏเป็นกษัตริย์ ในปี 2491


ดร.สมศักดิ์เคยเขียนเรื่องตามหัวเรื่องข้างบนคือ ข่าวลือเรื่องควงและพี่น้องปราโมชวางแผนสถาปนาให้พระองค์เจ้าจุมภฏเป็นกษัตริย์ ในปี 2491 ลงในบล็อกของเขาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 มีรายละเอียดว่า

เมื่อต้นปีกลาย ผมได้โพสต์เผยแพร่เอกสารบันทึกลับที่เขียนโดย เคนเน็ธ พี แลนดอน (ผู้เขียน Siam in Transition และผู้แปล "เค้าโครงเศรษฐกิจ" เป็นภาษาอังกฤษคนแรก และสามีของ มาร์กาเร็ต ผู้เขียน Anna and the King of Siam)ตอนนั้น ผมได้เซ็นเซอร์ข้อความบางตอนออก เร็วๆนี้ ผมได้ทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง (เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งบทความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในช่วงทศวรรษ 2490 ที่ผมพยายามทำอยู่) และคิดว่า มีข้อความบางตอน ไม่จำเป็นต้องเซนเซอร์อีก คือส่วนที่เกียวกับพระองค์เจ้าจุมภฏและ ควง-"พี่น้องปราโมช"

เรื่องของเรื่องคือ สถานทูต-กท.ต่างประเทศอเมริกันได้รับข่าวลือเรื่อง ควง และ "พี่น้องปราโมช" เตรียมวางแผนจะสถาปนาพระองค์เจ้าจุมภฏเป็นกษัตริย์ เรื่องนี้เป็นเพียง "ข่าวลือ" หรือ "ข่าวกรอง" (intelligence) ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้ แต่อย่างน้อย ก็มีความน่าเชื่อถือในระดับที่สถานทูตรายงานและเจ้าหน้าที่กระทรวง (คือ แลนดอน) ทำบันทึกแสดงความเห็น

ผมไม่แน่ใจว่า ในที่สุดแล้ว เรื่องนี้สามารถพิสูจน์ความจริง-ไม่จริง ได้หรือไม่ (ว่า ควง-"พี่น้องปราโมช" มีไอเดียเรื่องนี้) ซึ่งก็เช่นเดียวกับข้อมูลจำนวนมาก ที่อยู่ในเอกสารทางการทูตของอเมริกันและอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น งานของกอบเกื้อ ทั้งเรื่อง Thailand's Durable Premier และ เรื่อง Kings, Country and Constitutions ได้อาศัยข้อมูลชุดนี้เป็นหลัก และมีหลายข้อมูล เป็นเรื่องคล้ายกันนี้ แม้บางอันจะดูน่าเชื่อถือ เพราะอ้างคำของบางคนในวงการรัฐบาลหรือราชสำนักเอง เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างในหลวง กับ พิบูล และ เผ่า โดยเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญ 2495 เป็นต้น

ให้ผมยกตัวอย่างหนึ่ง คือ ตามข้อมูลชุดนี้ กล่าวว่า ช่วงหลังรัฐประหาร 2490 พิบูลต้องการเป็นอภิรัฐมนตรีคนหนึ่งด้วย ผมเองไม่เชื่อว่าข้อมูลนี้เป็นจริง แต่ดูเหมือนทั้ง กอบเกื้อ และ Handley ที่นำไปอ้างต่อ จะเชื่อ ฯลฯ

ในเวลาไม่นานข้างหน้า ผมเข้าใจว่า จะมีนักวิชาการบางท่านนำข้อมูลบางส่วนจากข้อมูลชุดนี้มาเผยแพร่เพิ่มเติมอีก ซึ่งแม้จะเป็นเรื่อง "เล็กๆ" แต่อาจจะ sensational พอสมควร จากจุดของผู้สนใจความขัดแย้งช่วง 2500 โดยเฉพาะบทบาทของราชสำนัก ในความขัดแย้งที่นำไปสู่การโค่นพิบูล-เผ่า (เท่าที่ผมได้เห็นเป็นข้อมูลทีน่าสนใจมาก)

โดยสรุปแล้ว ข้อมูลทางการทูตของอเมริกันและอังกฤษ เกี่ยวกับการเมืองไทย ยังคงมีความสำคัญและน่าสนใจยิ่ง แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบความจริง (verification) บ้าง นักเรียนประวัติศาสตร์ต้องชั่งน้ำหนัก และอภิปรายความน่าเชื่อถือเป็นกรณีๆไป

เฉพาะในกรณีข่าวลือเรื่อง ควง-"พี่น้องปราโมช" นี้ ผมไม่คิดว่า สามารถยืนยันความจริงได้ดังกล่าวแล้ว แต่ประเด็นที่ผมคิดว่า เอกสารนี้ช่วยทำให้มองเห็น (และนี่คือจุดประสงค์ของการเผยแพร่ในทีนี้) คือ สถานะของรัชกาลปัจจุบัน ในช่วงปีแรกๆ มีความไม่แน่นอน หรือไม่มั่นคงสูง โดยเฉพาะในส่วนทีเชื่อมโยงกับกรณีสวรรคตของรัชกาลก่อน และโดยเฉพาะในสายตาของวงการทูต-รัฐบาลตะวันตก




คำแปล(ส่วนที่ใส่เครื่องหมาย [........] คือข้อความที่ผมยังขอเซ็นเซอร์ ข้อความเน้น คือข้อความที่เดิมผมเคยเซ็นเซอร์)

ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ได้ตกลงเห็นชอบร่วมกันว่า หาก ควง อภัยวงศ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี และหากรัฐบาลของเขาได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภา ตัวแทนของรัฐบาลแต่ละประเทศดังกล่าวที่กรุงเทพก็จะให้การรับรองแก่รัฐบาลควงอย่างเป็นทางการ และความสัมพันธ์กับรัฐบาลสยามก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติต่อไป [ความสัมพันธ์ปกติถูกพักไว้หลังรัฐประหาร - สมศักดิ์] รัฐบาลของทั้งสี่ประเทศยังตกลงร่วมกันว่า หากคนอื่นที่ไม่ใช่ควงได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของสี่ประเทศก็จะปรึกษาหารือกัน ก่อนที่จะให้การรับรองรัฐบาลสยามอย่างเป็นทางการ

รายงานล่าสุดเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ ที่ว่า ควง กำลังเตรียมตัวที่จะประกาศว่า [........] ; ว่าในหลวงภูมิพลจะทรงสละราชสมบัติ และว่า พระองค์เจ้าจุมภฏ จะทรงเป็นกษัตริย์แทน ได้ทำให้เกิดเป็นปัจจัยใหม่ขึ้นมาในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอาจสร้างความปั่นป่วนอย่างถึงราก การแบ่งขั้วการเมืองในขณะนี้

ในปี 1945 [ที่ถูกควรเป็นปี 1944 มากกว่า - สมศักดิ์] ควง ได้รับการดันขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองโดย ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งตอนนี้กำลังลี้ภัยในต่างประเทศ ความทะเยอทะยานของควงทำให้เกิดแตกหักกับปรีดีภายในเวลา 9 เดือน ในเดือนพฤศจิกายน 1947 ควงได้รับการดันขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองอีก คราวนี้โดย พิบูล หลังจากพิบูลยึดอำนาจรัฐบาลจากปรีดีด้วยการรัฐประหาร เช่นเดียวกับปรีดี พิบูลคิดว่าควงจะเป็นเบี้ยที่เต็มใจและผู้ติดตามที่ว่านอนสอนง่าย แต่ดูเหมือนว่า อีกครั้งที่ควงเองกำลังเดินหมากการเมืองด้วยความทะเยอทะยานของตัวเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การแตกหักกับพิบูล

พิบูลขัดแย้งอย่างมากกับข้อเสนอของควงที่ว่าในหลวงภูมิพล [........] และที่ให้ พระองค์เจ้าจุมภฏเป็นกษัตริย์แทน อาจจะเป็นความจริงที่ว่า ในหลวงภูมิพล [........] ผมเองได้เสนอความเป็นไปได้เช่นนี้ในบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนหน้านี้. กล่าวในทางการเมือง ไม่เป็นสิ่งสำคัญว่า ในหลวงภูมิพล [........] หรือไม่ หากจุดมุ่งหมายเบื้องหลังการกล่าวหานี้ คือการจัดการให้ พระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นครองราชบัลลังก์ เพราะเรื่องนี้ก็จะเป็นเพียงความพยายามอย่างจงใจของควงที่จะฟื้นฟูอำนาจที่เคยมีอยู่ก่อน [2475] ของสถาบันกษัตริย์ และสถาปนาให้ควงเองและพี่น้องปราโมชเป็นผู้นำของคณะนิยมเจ้าและของประเทศสยาม ดูเหมือนควงและพี่น้องปราโมชหวังว่า พวกเขาจะสามารถรักษาอำนาจตัวเองไว้ได้หากพระองค์เจ้าจุมภฏได้ทรงขึ้นครองราชย์ เพราะพระองค์เจ้าจุมภฏเป็นบุคคลผู้มีวุฒิภาวะ [ประสูติ 2447 - สมศักดิ์] และมีทรัพย์สมบัติไม่น้อย ทรงมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองในราชสำนักเป็นเวลานาน มีผู้สนับสนุนพระองค์จำนวนมากในหมู่ชาวไทยและจีนในประเทศสยาม และทรงได้รับการผลักดันจากพระชายาผู้มีความทะเยอทะยาน ซึ่งในฐานะธิดาผู้หลักแหลมของอดีตเสนาบดีต่างประเทศของสยามผู้ชาญฉลาดที่สุดคนหนึ่ง [หมายถึง มรว.พันทิพย์ ธิดาคนแรกของพระองค์เจ้าไตรทศพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย - สมศักดิ์] ทรงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเกมการเมืองทั้งภายในประเทศและกับต่างประเทศ

สถานการณ์ปัจจุบันถูกทำให้ปั่นป่วนทางการเมืองเพิ่มขึ้นอีกจากบทบาทคอร์รัปชั่นของหลวงกาจสงครามผู้ให้การสนับสนุนควง และผู้ควบคุมกำลังทหารบางส่วนสำคัญไว้ด้วย การปฏิบัติแบบคอร์รัปชั่นของหลวงกาจสร้างความไม่พอใจให้กับพิบูล ซึ่งถือว่าการคอร์รัปชั่นเช่นนี้เป็นอภิสิทธิ์ของเขาเองและต้องการให้ลูกน้องอย่างหลวงกาจ ได้รับส่วนแบ่งในการโกงกินน้อยกว่าเขา ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากพิบูลเองคอร์รัปชั่นจนรวยแล้ว จึงสามารถแสดงท่าทีเป็นผู้มีคุณธรรมต่อกรณีคอร์รัปชั่นของหลวงกาจได้ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเองทั้งในประเทศและต่อต่างชาติ

พิบูลกับปรีดีเป็นคู่ปฏิปักษ์ทางการเมืองในคณะพรรคเดียวกัน ทั้งคู่คัดค้านการรื้อฟื้นอำนาจให้สถาบันกษัตริย์พอๆกัน พวกเขาไม่มีปัญหากับกษัตริย์องค์ปัจจุบัน เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่มีบริวารส่วนพระองค์ หมากครั้งนี้ของควงอาจทำให้พิบูลกับปรีดีหันมาคืนดีกันเพราะกลัวต่อความเป็นไปได้ [specter] ที่พระองค์เจ้าจุมภฏจะได้เป็นกษัตริย์ ควงกับพวกกำลังพยายามสร้างคณะการเมืองอีกคณะหนึ่งที่ต่างออกไปจากคณะที่แตกออกเป็นพวกปรีดีและพวกพิบูล [หมายถึงคณะราษฎ - สมศักดิ์] ควงไม่มีทางประสบความสำเร็จหากเขาได้รับการสนับสนุนเพียงจากหลวงกาจและกำลังทหารที่หลวงกาจคุม และจากพระองค์เจ้าจุมภฏและบริวารพวกนิยมเจ้า การสนับสนุนจากพิบูลเป็นสิ่งจำเป็นหากควงอยากจะมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ

หากเค้าลางในขณะนี้ของการหันมาคืนดีกันระหว่างพิบูลกับปรีดียังคงมีต่อไป เราก็อาจจะได้เห็นสถานการณ์พัฒนาไปเป็นแบบเดียวกับเดือนธันวาคม 1938 เมื่อ พิบูลกับปรีดี รู้สึกว่า ต้องการอีกฝ่ายหนึ่ง และร่วมมือกันจัดต้งรัฐบาลผสมขึ้นมา


พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของรัชกาลที่ 8 ณ ทุ่งบางเขน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก