จิตร ภูมิศักดิ์
เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด
จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จิตรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509 หลังเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และถูกอาสาสมัครและทหารล้อมยิง
....................................................
จิตร ภูมิศักดิ์
เกิดเมื่อ 25 กันยายน พ.ศ.2473 ต. ประจันตคาม อ.ปรจันตคาม จ. ปราจีนบุรี
ถึงปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่นๆ ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด
แนวคิดและการต่อสู้
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"
ปี พ.ศ. 2498 เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนกระทั่งถูกจับในข้อหา "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์" เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เขาถูกคุมขังอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 จึงได้รับการปลดปล่อยและพ้นจากข้อหาของทางการ
เนื่องจากเขาถูกติดตามคุกคามจากทางการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างหนักทำให้เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา ต่อมาถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิต ตายด้วยกระสุนปืนที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะ บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์
งานเขียนชิ้นเด่น
- หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ", 2519*
- หนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" (ต่อมาพิมพ์รวมเล่มกับ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เป็น "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์")
- หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"*
- หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์"
- หนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย", 2548
- หนังสือ "โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา", 2524
- หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา", 2526
- หนังสือ "ตำนานแห่งนครวัด"
- เพลง "ภูพานปฏิวัติ"
- เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา"
- บทกวี "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน"
- บทกวี "อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย"
- บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์*
นามปากกาของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น นาคราช1, ศูลภูวดล1, ศรีนาคร, ทีปกร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ1, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม1, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์1, จักร ภูมิสิทธิ์2
หมายเหตุ: 1 หมายถึง ใช้เพียงครั้งเดียว, 2 เป็นคำผวนของชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันนี้ในอดีต: 5 พฤษภาคม, เว็บไซต์นิตยสารสารคดีโครงการจัดพิมพ์สรรพนิพนธ์ ของจิตร ภูมิศักดิ์ รวบรวมผลงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์
คลิปวีดีโอประวัติจิตร ภูมิศักดิ์ จัดทำโดยกลุ่มแรงคิด
ผลงานกวี นิพนธ์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รับการรวบรวมหลายครั้ง ต่างกรรม
ต่างวาระ หนังสือ "กวีการเมือง" เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์รวมผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่เขียนขึ้น
ระหว่างถูกจำคุกอยู่ในคุกลาดยาว ด้วยข้อหาทางการเมือง ภาคแรกของผลงานชุดนี้เป็นบทกวี
การเมือง ที่ได้ลักลอบนำมาลงพิมพ์ในหนังสือ "ประชาธิปไตย" ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมา
ได้มีผู้นำลงพิมพ์อีกครั้งใน "เศรษฐกร" พ.ศ.๒๕๑๔ สำหรับส่วนภาคที่สอง เป็นบทความทาง
ความคิดเกี่ยวกับศิลปกรรมในแง่มุมต่างๆ คัดมาจากหนังสือสารเสรี ในนามปากกา ซึ่งใช้เวลา
ขณะนั้น "สมชาย ปรีชาเจริญ" เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๐๑ กลุ่มแนวร่วมนักศึกษา
เชียงใหม่ จัดรวบรวมบทกวีและบทความนี้ขึ้นเป็นรูปเล่มออกเผยแพร่ ในท่ามกลางสถานการณ์
ร้อนทางการเมืองของไทย หลังเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญหรือเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ราว
ครึ่งปี
บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นบทกวีวิพากษ์วิจารณ์สภาพเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
ไทย ในช่วง พ.ศ.๒๕๐๐ ที่สังคมไทยอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร เต็มไปด้วยการโกงกินของ
ผู้อยู่ในอำนาจปกครอง อีกทั้งการครอบงำตลอดจนการ 'เอาเปรียบ' จากลัทธิจักรวรรดินิยม
กลอนหกที่ น.ม.ส. ได้คิดขึ้นมาเพื่อสื่อสารกวี ที่มีความกระชับรัดกุมแผกไปจากกลอน
แปดนั้น จิตรนำมาเพิ่มสัมผัสในแบ่งวรรคในแต่ละบาทเพิ่มเสียงสัมผัสเอกโท และเลือกภาษาเสียด
สีแบบชาวบ้านมาใส่ไว้ จนเกือบจะใช้เป็นบทร้องสำหรับแสดงละครได้ดังเช่น บทนี้
ไร่นา ป่าดง พงพฤกษ์ ขุนศึกเขมือบสิ้นกินดิบ
ทุ่งนา ป่ารัฐ ภูริบ โอนกันงุบงิบง่านงก
กวีการเมือง, (หน้า ๑๔)
ในบทถัดมาชื่อ หนุมานอมพลับพลับ จิตรได้นำเข้าปัญหาการคอร์รัปชั่นมาล้อเลียน
แต่งไว้ในรูป โคลงสี่สุภาพ ซึ่งบัดนี้ไม่สุภาพ เสียแล้ว ความว่า
"โอม....
หนุมานกลับชาติฟื้น ขึ้นมา มาฮา
กูไป่อมพลับพลา ดอกเฮ้ย
กูลิงยุคพัฒนา ฤทธิ์มาก (โอยพ่อ!)
กองสลากฯ ตะหากเว้ย... ว่าแล้ว อมเสีย"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๐)
ตามประเพณีการแต่งบทกวีนั้น การแต่งโคลงสรรเสริญเกียรติหากขึ้นต้นด้วยร่ายก็
มักจะตามมาด้วย โคลง กาพย์ หรือฉันท์ อันเป็นแผนกกวีนิพนธ์สืบทอดมาแต่โบราณ แต่จิตร
กบฏต่อแบบแผนนี้ ได้นำ เพลงกลองยาว และกลอน เพลงฉ่อย ซึ่งเป็น ของพื้นบ้าน มาวางเรียง
ไว้ต่อจากร่ายและโคลงสี่ (ไม่) สุภาพ
ดังนี้
"บ็อง บ็อง บ็อง
เอ้ามาละโหวย เอ้ามาละวา เจ้าพญาลิงลม ไม่ยักกะอมพลับพลา
หนุมานยุคใหม่ ยุคไทยพัฒนา ตะละล้า...
เอ้ามีอำนาจ ก็เที่ยวกวาดแผ่นดิน ไม่ต้องทำกิน ก็รวยขึ้นมา
ตะละล้า...
เอ้ากินโขมง เอ้าโกงขม้ำ ยงโย่ยงหยก ก็เลยหกคะมำ ทั่วทั้งเมืองไทย
เขาเห็นไต๋ดำดำ หุยฮา! หุยฮา!"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๐)
โคลงห้าพัฒนา เป็นผลงานของจิตรที่รู้จักกันดีว่าเขาเป็นผู้คิดขึ้นมาโดยพัฒนามา
จากโคลงห้า ซึ่งเป็นโคลงโบราณยุคเก่าของชนชาติไทย-ลาว เขาใช้โคลงห้ามากแห่งในจังหวะ
ความคิดและอารมณ์ที่ต้องการความเด็ดขาด-เข้มแข็ง-จริงจัง ดังเช่นในบท คาวกลางคืน
สะท้อนใจเหลือเกินต่อชีวิตกลางคืนกรุงเทพฯ ที่ คาว จนไม่น่าเชื่อว่าที่นี่เมืองไทย
กรุงเทพฯคลุ้ง คาวหืน
ควันกามกลืน กลบไหม้
คาวกลางคืน คลุมทาบ
เมืองร้องไห้ เหือดขวัญฯ
น้ำฟ้าฟาด ฟองหาว
คือกามฉาว ชุ่มฟ้า
กลิ่นสาปสาว กำซาบ
กามย้อมหล้า แหล่งสยามฯ
กวีการเมือง, (หน้า ๓๔)
ในโคลงสี่สุภาพขยายความ คาวกลางคืน เป็นอีกบทหนึ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้แต่ง
เอาใจใส่สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างถี่ถ้วน เขาไม่ใช่กวี นักวิชาการ ที่ห่างเหินต่อ
ความรู้ทางสังคม เป็นงานที่เขียนเพื่อรับใช้ยุคสมัยผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปากเสียง
เป็นอาวุธทางศิลปวรรณคดี ต่อสู้ในแนวรบนี้อย่างแท้จริง
กรุงสยามคาวกว่าคลุ้ง คาวปลา
จอมถ่อยกลืนกามา เมือบม้าม
"บังเงา" ทาสแมงดา เดียวดาด
ภายนอกกฎหมายห้าม หุบเข้าเงาแฝง
มีนางโทรศัพท์เนื้อ นวลหวาน
แม่ม่ายผัวเผลอบาน แบะท่า
มีเรือเร่สำราญ เริงสวาท
แสนแสบแสบกามบ้า กลิ่นคลุ้งคาวคลอง
บริการอาบน้ำนวด เนืองนันต์
สาวหนุ่มนวดกันกระสัน แสบไส้
ตัดผมยุคใหม่มัน ลืมเมื่อย จริงพ่อ
"คุณตัดแล้วนวดมั้ย... นวดมั้ยหมอสาว?"
จาก กวีประชาชน, (หน้า ๓๕)
งานของจิตร ภูมิศักดิ์ นั้นมักสร้างสรรรูปแบบที่สามารถและจงใจจะสื่อความหมาย
สื่อความรู้สึกได้ตรงและดี มากกว่าที่จะติดยึดอยู่กับรูปแบบตายตัวที่สืบทอดกันมา ผู้แต่งมัก
นิยมใช้คำหรือความแทรกลงในบทกวีแต่ละบทแต่ละตอนในแบบแผน นอก รูปแบบที่เคยมี ดัง
เช่น โคลงสี่สุภาพใน วิญญาณสยาม ซึ่งแสดงสะท้อนใจต่อการปกครองระบอบเผด็จการ
ดังนี้
"สยองเสียงปีศาจก้อง กรรหาย หิวเอย
สยามลั่นทรุดฟูมฟาย ฟุบหน้า
แสยงภัยกราบภัยตาย.... ตายราบ ฉะนี้ฤา
ยอมสยบซบให้หล้า โลกเย้ยฤาสยาม
อหา สยามเอ๋ย....จักสยบซบให้หล้า โลกเย้ย
....ให้โลกเย้ย ฤาสยาม?"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๘)
บทกวีที่เด่น และเป็นตำนานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ได้รับการกล่าวขวัญอยู่เสมอในยาม
ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ บทกวี "คำเตือน...จากเพื่อนเก่า" ซึ่งเขียน
วิพากษ์วิจารณ์นักหนังสือพิมพ์ที่ "ขายตัว" เพื่อแลกกับเงิน แทนที่จะยึดถือความจริงและสัจจะ
กลับใช้ปากกาป้ายสีข้อหาคอมมิวนิสต์ให้แก่ประชาชนผู้รักชาติ นอกจากนี้ยังปกป้องและพิทักษ์
อำนาจเผด็จการ บทกวีเหล่านี้เคยถูกอ่านบ่อยครั้งบนเวทีการต่อสู้สนามหลวง มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และอื่นๆ ช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ของ
ประชาชนถูกบิดเบือนให้ร้ายจากหน้าหนังสือพิมพ์ ดังเช่นบทนี้
"มวลชนย่อมเป็นคน มิใช่ควายที่โง่งม
ทองแท้หรืออาจม เขาย่อมรู้กระจ่างใจ
ใครชั่วสกุลถ่อย จะถูกถุยทั้งเมืองไทย
รัศมีที่เรืองไกร จะสิ้นแววที่เคยงาม
รักเสือต้องรักศักดิ์ เยี่ยงพยัคฆ์สง่างาม
อย่าเพียงพยักตาม ต่อแส้เงินที่กวัดไกว
รักเพื่อนจึงเตือนมั่ง ถ้าไม่ฟังก็ตามใจ
ป้ายสีสาดโคลนไป เยี่ยงนักสู้แบบเฮงซวย"
กวีการเมือง, (หน้า ๕๔)
ในกวีการเมือง มีบทวิจารณ์ศิลปวรรณกรรมของจิตรอยู่ด้วยถึง ๒๘ บทความ
แต่ละบทความแสดงภูมิรู้อันลึกซึ้งของจิตร ต่อศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
ยังแสดงความวิตกของเขาต่อการครอบงำของอิทธิพลตะวันตกและความรู้ด้านทฤษฎีของ
ศิลปวัฒนธรรมไทยขึ้นมาอย่างสูงยิ่ง เป็นการวางรากฐานการศึกษาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างดี
ด้วย น่าเสียดายที่ในสถานการณ์ที่จิตรเขียนบทความนี้ หรือภายหลังจากนั้นมาหลายสิบปี
กระแสความตื่นตัวด้านภูมิปัญญาไทยยังไม่เกิดขึ้น บทความของจิตรจึงคล้ายกับมาก่อนกาล
ในวันนี้ซึ่งเรื่องของภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งอันตระหนักกันดีขึ้นมากแล้ว การหวนกลับไปอ่าน
งานของเขาในเรื่องนี้เป็นสิ่งอันพึงทำอย่างยิ่ง
ต่างวาระ หนังสือ "กวีการเมือง" เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์รวมผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่เขียนขึ้น
ระหว่างถูกจำคุกอยู่ในคุกลาดยาว ด้วยข้อหาทางการเมือง ภาคแรกของผลงานชุดนี้เป็นบทกวี
การเมือง ที่ได้ลักลอบนำมาลงพิมพ์ในหนังสือ "ประชาธิปไตย" ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมา
ได้มีผู้นำลงพิมพ์อีกครั้งใน "เศรษฐกร" พ.ศ.๒๕๑๔ สำหรับส่วนภาคที่สอง เป็นบทความทาง
ความคิดเกี่ยวกับศิลปกรรมในแง่มุมต่างๆ คัดมาจากหนังสือสารเสรี ในนามปากกา ซึ่งใช้เวลา
ขณะนั้น "สมชาย ปรีชาเจริญ" เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๐๑ กลุ่มแนวร่วมนักศึกษา
เชียงใหม่ จัดรวบรวมบทกวีและบทความนี้ขึ้นเป็นรูปเล่มออกเผยแพร่ ในท่ามกลางสถานการณ์
ร้อนทางการเมืองของไทย หลังเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญหรือเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ราว
ครึ่งปี
บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นบทกวีวิพากษ์วิจารณ์สภาพเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
ไทย ในช่วง พ.ศ.๒๕๐๐ ที่สังคมไทยอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร เต็มไปด้วยการโกงกินของ
ผู้อยู่ในอำนาจปกครอง อีกทั้งการครอบงำตลอดจนการ 'เอาเปรียบ' จากลัทธิจักรวรรดินิยม
กลอนหกที่ น.ม.ส. ได้คิดขึ้นมาเพื่อสื่อสารกวี ที่มีความกระชับรัดกุมแผกไปจากกลอน
แปดนั้น จิตรนำมาเพิ่มสัมผัสในแบ่งวรรคในแต่ละบาทเพิ่มเสียงสัมผัสเอกโท และเลือกภาษาเสียด
สีแบบชาวบ้านมาใส่ไว้ จนเกือบจะใช้เป็นบทร้องสำหรับแสดงละครได้ดังเช่น บทนี้
ไร่นา ป่าดง พงพฤกษ์ ขุนศึกเขมือบสิ้นกินดิบ
ทุ่งนา ป่ารัฐ ภูริบ โอนกันงุบงิบง่านงก
กวีการเมือง, (หน้า ๑๔)
ในบทถัดมาชื่อ หนุมานอมพลับพลับ จิตรได้นำเข้าปัญหาการคอร์รัปชั่นมาล้อเลียน
แต่งไว้ในรูป โคลงสี่สุภาพ ซึ่งบัดนี้ไม่สุภาพ เสียแล้ว ความว่า
"โอม....
หนุมานกลับชาติฟื้น ขึ้นมา มาฮา
กูไป่อมพลับพลา ดอกเฮ้ย
กูลิงยุคพัฒนา ฤทธิ์มาก (โอยพ่อ!)
กองสลากฯ ตะหากเว้ย... ว่าแล้ว อมเสีย"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๐)
ตามประเพณีการแต่งบทกวีนั้น การแต่งโคลงสรรเสริญเกียรติหากขึ้นต้นด้วยร่ายก็
มักจะตามมาด้วย โคลง กาพย์ หรือฉันท์ อันเป็นแผนกกวีนิพนธ์สืบทอดมาแต่โบราณ แต่จิตร
กบฏต่อแบบแผนนี้ ได้นำ เพลงกลองยาว และกลอน เพลงฉ่อย ซึ่งเป็น ของพื้นบ้าน มาวางเรียง
ไว้ต่อจากร่ายและโคลงสี่ (ไม่) สุภาพ
ดังนี้
"บ็อง บ็อง บ็อง
เอ้ามาละโหวย เอ้ามาละวา เจ้าพญาลิงลม ไม่ยักกะอมพลับพลา
หนุมานยุคใหม่ ยุคไทยพัฒนา ตะละล้า...
เอ้ามีอำนาจ ก็เที่ยวกวาดแผ่นดิน ไม่ต้องทำกิน ก็รวยขึ้นมา
ตะละล้า...
เอ้ากินโขมง เอ้าโกงขม้ำ ยงโย่ยงหยก ก็เลยหกคะมำ ทั่วทั้งเมืองไทย
เขาเห็นไต๋ดำดำ หุยฮา! หุยฮา!"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๐)
โคลงห้าพัฒนา เป็นผลงานของจิตรที่รู้จักกันดีว่าเขาเป็นผู้คิดขึ้นมาโดยพัฒนามา
จากโคลงห้า ซึ่งเป็นโคลงโบราณยุคเก่าของชนชาติไทย-ลาว เขาใช้โคลงห้ามากแห่งในจังหวะ
ความคิดและอารมณ์ที่ต้องการความเด็ดขาด-เข้มแข็ง-จริงจัง ดังเช่นในบท คาวกลางคืน
สะท้อนใจเหลือเกินต่อชีวิตกลางคืนกรุงเทพฯ ที่ คาว จนไม่น่าเชื่อว่าที่นี่เมืองไทย
กรุงเทพฯคลุ้ง คาวหืน
ควันกามกลืน กลบไหม้
คาวกลางคืน คลุมทาบ
เมืองร้องไห้ เหือดขวัญฯ
น้ำฟ้าฟาด ฟองหาว
คือกามฉาว ชุ่มฟ้า
กลิ่นสาปสาว กำซาบ
กามย้อมหล้า แหล่งสยามฯ
กวีการเมือง, (หน้า ๓๔)
ในโคลงสี่สุภาพขยายความ คาวกลางคืน เป็นอีกบทหนึ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้แต่ง
เอาใจใส่สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างถี่ถ้วน เขาไม่ใช่กวี นักวิชาการ ที่ห่างเหินต่อ
ความรู้ทางสังคม เป็นงานที่เขียนเพื่อรับใช้ยุคสมัยผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปากเสียง
เป็นอาวุธทางศิลปวรรณคดี ต่อสู้ในแนวรบนี้อย่างแท้จริง
กรุงสยามคาวกว่าคลุ้ง คาวปลา
จอมถ่อยกลืนกามา เมือบม้าม
"บังเงา" ทาสแมงดา เดียวดาด
ภายนอกกฎหมายห้าม หุบเข้าเงาแฝง
มีนางโทรศัพท์เนื้อ นวลหวาน
แม่ม่ายผัวเผลอบาน แบะท่า
มีเรือเร่สำราญ เริงสวาท
แสนแสบแสบกามบ้า กลิ่นคลุ้งคาวคลอง
บริการอาบน้ำนวด เนืองนันต์
สาวหนุ่มนวดกันกระสัน แสบไส้
ตัดผมยุคใหม่มัน ลืมเมื่อย จริงพ่อ
"คุณตัดแล้วนวดมั้ย... นวดมั้ยหมอสาว?"
จาก กวีประชาชน, (หน้า ๓๕)
งานของจิตร ภูมิศักดิ์ นั้นมักสร้างสรรรูปแบบที่สามารถและจงใจจะสื่อความหมาย
สื่อความรู้สึกได้ตรงและดี มากกว่าที่จะติดยึดอยู่กับรูปแบบตายตัวที่สืบทอดกันมา ผู้แต่งมัก
นิยมใช้คำหรือความแทรกลงในบทกวีแต่ละบทแต่ละตอนในแบบแผน นอก รูปแบบที่เคยมี ดัง
เช่น โคลงสี่สุภาพใน วิญญาณสยาม ซึ่งแสดงสะท้อนใจต่อการปกครองระบอบเผด็จการ
ดังนี้
"สยองเสียงปีศาจก้อง กรรหาย หิวเอย
สยามลั่นทรุดฟูมฟาย ฟุบหน้า
แสยงภัยกราบภัยตาย.... ตายราบ ฉะนี้ฤา
ยอมสยบซบให้หล้า โลกเย้ยฤาสยาม
อหา สยามเอ๋ย....จักสยบซบให้หล้า โลกเย้ย
....ให้โลกเย้ย ฤาสยาม?"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๘)
บทกวีที่เด่น และเป็นตำนานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ได้รับการกล่าวขวัญอยู่เสมอในยาม
ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ บทกวี "คำเตือน...จากเพื่อนเก่า" ซึ่งเขียน
วิพากษ์วิจารณ์นักหนังสือพิมพ์ที่ "ขายตัว" เพื่อแลกกับเงิน แทนที่จะยึดถือความจริงและสัจจะ
กลับใช้ปากกาป้ายสีข้อหาคอมมิวนิสต์ให้แก่ประชาชนผู้รักชาติ นอกจากนี้ยังปกป้องและพิทักษ์
อำนาจเผด็จการ บทกวีเหล่านี้เคยถูกอ่านบ่อยครั้งบนเวทีการต่อสู้สนามหลวง มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และอื่นๆ ช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ของ
ประชาชนถูกบิดเบือนให้ร้ายจากหน้าหนังสือพิมพ์ ดังเช่นบทนี้
"มวลชนย่อมเป็นคน มิใช่ควายที่โง่งม
ทองแท้หรืออาจม เขาย่อมรู้กระจ่างใจ
ใครชั่วสกุลถ่อย จะถูกถุยทั้งเมืองไทย
รัศมีที่เรืองไกร จะสิ้นแววที่เคยงาม
รักเสือต้องรักศักดิ์ เยี่ยงพยัคฆ์สง่างาม
อย่าเพียงพยักตาม ต่อแส้เงินที่กวัดไกว
รักเพื่อนจึงเตือนมั่ง ถ้าไม่ฟังก็ตามใจ
ป้ายสีสาดโคลนไป เยี่ยงนักสู้แบบเฮงซวย"
กวีการเมือง, (หน้า ๕๔)
ในกวีการเมือง มีบทวิจารณ์ศิลปวรรณกรรมของจิตรอยู่ด้วยถึง ๒๘ บทความ
แต่ละบทความแสดงภูมิรู้อันลึกซึ้งของจิตร ต่อศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
ยังแสดงความวิตกของเขาต่อการครอบงำของอิทธิพลตะวันตกและความรู้ด้านทฤษฎีของ
ศิลปวัฒนธรรมไทยขึ้นมาอย่างสูงยิ่ง เป็นการวางรากฐานการศึกษาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างดี
ด้วย น่าเสียดายที่ในสถานการณ์ที่จิตรเขียนบทความนี้ หรือภายหลังจากนั้นมาหลายสิบปี
กระแสความตื่นตัวด้านภูมิปัญญาไทยยังไม่เกิดขึ้น บทความของจิตรจึงคล้ายกับมาก่อนกาล
ในวันนี้ซึ่งเรื่องของภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งอันตระหนักกันดีขึ้นมากแล้ว การหวนกลับไปอ่าน
งานของเขาในเรื่องนี้เป็นสิ่งอันพึงทำอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น