โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
31 พฤษภาคม 2553
รายงานจากเว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม สำนักงานทนายความระดับโลก ซึ่งพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ร้องขอให้มาช่วยงานประชาธิปไตยในไทย ได้เปิดเผยเมื่อวันนี้ว่า (31 พ.ค.) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอาชญากรสงครามระหว่างประเทศ ได้ตอบตกลงเข้ามาร่วมทีมสืบสวนเหตุการณ์การเข่นฆ่าประชาชนที่มาประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย
ผู้เชี่ยวชาญระดับชาติเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมสงคราม ศาสตราจารย์ จีเจ อเล็กซานเดอร์ นู๊ป ได้ตกลงเข้าร่วมทีมกฏหมายของสำนักงานทนายความโรเบิร์ด อัมสเตอร์ดัม แล้ว เพื่อที่จะดำเนินการสืบสวนเหตุการณ์ที่รัฐบาลไทยได้ทำการสังหารผู้เรียกร้องประชาธิปไตยกว่า 80 ศพ ระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา
ศาสตร์จารย์ Knoops จากบริษัท Knoops & Partners คือเจ้าหน้าที่ระดับโลกในกรณีคดีอาชญากรรมสงคราม คดีอาญาที่รัฐกระทำต่อประชาชน และคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธู์ เขาได้ทำงานในคดีต่างๆก่อนหน้านี้ ได้แก่คดีอาชญากรรมสงครามในยูโกสลาเวีย กรณีอาชญากรรมในประเทศรวันด้า รวมไปถึงศาลพิเศษใน Sierra-Leone ซึ่งก่อตั้งโดยสหประชาชาติเพื่อพิจารณาคดีความในกรณีความผิดอันร้ายแรงต่อมนุษยชาติอันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 1996
รายงานระบุว่า ทั้งอัมสเตอร์ดัมและนู๊ปได้ทำงานร่วมกันมานานแล้ว นายอัมสเตอร์ดัมยังได้เผยว่า รัฐบาลทหารของไทยยังไม่หยุดยั้งการกดขี่และปราบปรามต่อประชาชนของตน มีประชาชนอย่างน้อย 140 คนถูกจับกุมตัว โดยส่วนมากถูกควบคุมตัวมากกว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วโดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ และถูกปฏิเสธไม่ให้มีทนาย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานมนุษยชนและกฏหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลทหารนายอภิสิทธิ์ยังได้ละเมิดกฏบัตรสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของนานาชาติและสิทธิของประชาชนของประเทศตน
ภายในแถลงการณ์ดังกล่าวได้ระบุว่าผู้จับกุมทั้งหมดซึ่งประกอบไปด้วยแกนนำคนเสื้อแดง คณาจารย์ (หมายถึงอ.สุธาชัย) การ์ด และคนเสื้อแดงอื่นๆ ซึ่งถูกจับกุมและคุมตัวไว้ในที่ต่างๆในประเทศ
"การที่กองทัพไทยใช้อาวุธ เป็นการละเมิดหลักพื้นฐานของสหประชาชาติในการใช้อาวุธโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์กฏหมายปี 1990 มติดังกล่าวได้ผ่านการลงมติในการประชุมครั้งที่แปดของสหประชาชาติในกรณีการป้องกันการก่ออาชญากรรมและหลักการปฏิบัติของฝ่ายโจมตี ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1990" นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว
31 พฤษภาคม 2553
รายงานจากเว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม สำนักงานทนายความระดับโลก ซึ่งพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ร้องขอให้มาช่วยงานประชาธิปไตยในไทย ได้เปิดเผยเมื่อวันนี้ว่า (31 พ.ค.) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอาชญากรสงครามระหว่างประเทศ ได้ตอบตกลงเข้ามาร่วมทีมสืบสวนเหตุการณ์การเข่นฆ่าประชาชนที่มาประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย
ผู้เชี่ยวชาญระดับชาติเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมสงคราม ศาสตราจารย์ จีเจ อเล็กซานเดอร์ นู๊ป ได้ตกลงเข้าร่วมทีมกฏหมายของสำนักงานทนายความโรเบิร์ด อัมสเตอร์ดัม แล้ว เพื่อที่จะดำเนินการสืบสวนเหตุการณ์ที่รัฐบาลไทยได้ทำการสังหารผู้เรียกร้องประชาธิปไตยกว่า 80 ศพ ระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา
ศาสตร์จารย์ Knoops จากบริษัท Knoops & Partners คือเจ้าหน้าที่ระดับโลกในกรณีคดีอาชญากรรมสงคราม คดีอาญาที่รัฐกระทำต่อประชาชน และคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธู์ เขาได้ทำงานในคดีต่างๆก่อนหน้านี้ ได้แก่คดีอาชญากรรมสงครามในยูโกสลาเวีย กรณีอาชญากรรมในประเทศรวันด้า รวมไปถึงศาลพิเศษใน Sierra-Leone ซึ่งก่อตั้งโดยสหประชาชาติเพื่อพิจารณาคดีความในกรณีความผิดอันร้ายแรงต่อมนุษยชาติอันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 1996
รายงานระบุว่า ทั้งอัมสเตอร์ดัมและนู๊ปได้ทำงานร่วมกันมานานแล้ว นายอัมสเตอร์ดัมยังได้เผยว่า รัฐบาลทหารของไทยยังไม่หยุดยั้งการกดขี่และปราบปรามต่อประชาชนของตน มีประชาชนอย่างน้อย 140 คนถูกจับกุมตัว โดยส่วนมากถูกควบคุมตัวมากกว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วโดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ และถูกปฏิเสธไม่ให้มีทนาย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานมนุษยชนและกฏหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลทหารนายอภิสิทธิ์ยังได้ละเมิดกฏบัตรสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของนานาชาติและสิทธิของประชาชนของประเทศตน
ภายในแถลงการณ์ดังกล่าวได้ระบุว่าผู้จับกุมทั้งหมดซึ่งประกอบไปด้วยแกนนำคนเสื้อแดง คณาจารย์ (หมายถึงอ.สุธาชัย) การ์ด และคนเสื้อแดงอื่นๆ ซึ่งถูกจับกุมและคุมตัวไว้ในที่ต่างๆในประเทศ
"การที่กองทัพไทยใช้อาวุธ เป็นการละเมิดหลักพื้นฐานของสหประชาชาติในการใช้อาวุธโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์กฏหมายปี 1990 มติดังกล่าวได้ผ่านการลงมติในการประชุมครั้งที่แปดของสหประชาชาติในกรณีการป้องกันการก่ออาชญากรรมและหลักการปฏิบัติของฝ่ายโจมตี ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1990" นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น