จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด
ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น
กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรพรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ
ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดิอาระเบีย บรูไน โอมาน รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย
ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
ในสมัยโบราณ ไม่ปรากฏคำ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ในภาษาไทยคำนี้ เกิดขึ้นจากการบัญญัติศัพท์ โดยแปลจาก "absolute monarchy" ในภาษาอังกฤษ เพื่อใช้แทนที่คำว่า "แอบโซลูดโมนากี" ซึ่งเป็นคำทับศัพท์เดิม โดยการสมาสศัพท์ดังต่อไปนี้
- สมฺบูรณ (สันสกฤต : เป็นคำนฤคหิตสนธิจากคำว่า สํ+ปูรณ) - บริบูรณ์ , ครบถ้วน , ทั้งหมด , เด็ดขาด , สิ้นเชิง
- อาญา (บาลี : อาณา , สันสกสกฤต : อาชญา) - อำนาจ , โทษ
- สิทฺธิ (บาลี , สันสกฤต) - อำนาจอันชอบธรรม , ความสำเร็จ , อิสระ
- ราชย (บาลี , สันสกฤต แผลงรูปมาจากคำว่า ราช) - ความเป็นกษัตริย์
....................
สังคมในสมัยอยุธยาประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส และพระสงฆ์โดยมีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป
ชนชั้นผู้ถูกปกครอง
ไพร่ คือ ราษฎรทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง และทาส บุคคลกลุ่มนี้มีมากที่สุดในสังคม ชายฉกรรจ์ทุกคนเมื่อมีอายุถึงกำหนดเริ่มตั้งแต่ ๑๘ หรือ ๒๐ ปี ต้องไปขั้นทะเบียนสังกัดมูลนาย มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมา ทั้งในภาวะที่สังคมสงบหรือมีสงคราม โดยที่ไม่มีการให้ค่าตอบแทนแต่อย่างใด
ไพร่แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
- ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานตามที่ราชการกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์จะแบ่งให้ไปทำงานในกรมหรือกองต่างๆ เข้าเวรทำงานตามเวลาที่ถูกกำหนด คือ ๖ เดือนต่อปี (เข้าเดือนออกเดือน)
- ไพร่ส่วย หมายถึง ไพร่ที่ส่งเงินหรือสิ่งของมาแทนตัวของไพร่แทนการทำงาน เพื่อชดเชย อาจเนื่องจากอยู่ไกลจากเมืองหลวง เข้ามารับราชการไม่สะดวก ตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการส่งเงินมาแทนแรงงานมากขึ้น เงินที่ส่งมานี่เรียกว่า เงินค่าราชการ เก็บในอัตราเดือนละ ๒ บาท หรือปีละ ๑๒ บาท
- ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นต่อขุนนางและข้าราชการต่างๆ เพื่อทำงานรับใช้โดยตรงไพร่นี้จะตกเป็นของมูลนายนั้นจนกว่ามูลนายจะถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง แต่บุตรของมูลนายเดิมมีสิทธิยื่นคำร้องของควบคุมไพร่สมนี้ต่อจากบิดาก็ได้
สิทธิทั่วไปของไพร่ เช่น ไพร่จะอยู่ภายใต้สังกัดของมูลนายคนใดคนหนึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไพร่ไม่สามารถย้ายสังกัดได้
นอกจากมูลนายของตนจะยินยอม ที่ดินของไพร่สามารถสืบทอดไปยังรุ่นต่อไป แต่ถูกจำกัดสิทธิในการย้ายที่อยู่ และต้องขึ้นทะเบียนตามภูมิลำเนาของตน เป็นต้น หลังจากที่เข้าเวรทำงานครบ ๖ เดือนแล้ว สามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวเพื่อประกอบอาชีพในครอบครัวได้อิสระ เว้นแต่ในยาม สงคราม
............................
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย
(บทความยกมาบาง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น