ชาวดิน ออนเน็ต

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี
ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน
ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี
อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง
คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน

7 / มีนาคม / 2553
........


วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 04, 2551

9 ตุลาการ ศาล รธน. พลิกตำรา กม.ชิงตัดสินยุบ3พรรคร่วม รบ.

เมื่อมีข่าวว่า จะปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนจึงนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าว่า จะไปถึงศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะแต่เช้าตรู่ ทำให้ ม็อบ นปช.ที่ตามมาจากศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถสกัดไม่ให้เข้าไปในศาลปกครองได้ทัน แม้กลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปแล้ว ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงบางแง่มุมเกี่ยวกับคดีประวัติศาสตร์ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน มัชฌิมาธิปไตยและชาติไทยยังไม่ได้รับการเปิดเผยโดยเฉพาะจากทางด้านศาลรัฐธรรมนูญที่มีข้อจำกัดไม่สามารถแถลงชี้แจงต่อสาธารณะได้โดยตรง


ต่อไปนี้เป็นข้อมูลจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนรวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่สาธารณะอาจสามารถนำไปพิจารณาประกอบความเห็นได้


ประเด็นแรก ทำไมศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่เปิดโอกาสให้ทั้งสามพรรคไต่สวนพยานเพิมเติ่มโดยระบุว่า มีข้อพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้และนัดแถลงปิดคดีในวันที่ 2 ธันวาคม 2551


หนึ่ง คำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองแบ่งออกเป็น 2 กรณี


กรณีแรก คำร้องยุบพรรคพลังประชาชนสืบเนื่องมาจากศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่กระทำฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550ด้วยการทุจริตเลือกตั้ง


ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การศาลฎีกาได้มีการวินิจฉัยไว้แล้วว่า การกระทำของนายยงยุทธ ทำให้การเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม นั้น ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถมีความเห็นเป็นอื่นได้ จึงไม่มีความจำเป็นใดๆในการไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมในประเด็นนี้


กรณีที่สอง คำร้องยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยและชาติไทย แม้เป็นการวินิจฉัยในชั้น กกต. ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสุนทร วิลาวัลย์ และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา กรรมการบริหารพรรคทั้งสองตามลำดับ ก่อนการประกาศผลเลือกตั้ง แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 บัญญัติให้ คำวินิจฉัยของ กกต.ในกรณีเป็นที่สุด ซึ่งศาลเห็นว่า คำวินิจฉัย กกต.จึงถือเป็นที่ยุติแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของกกต.ได้ จึงไม่มีความจำเป็นใดๆในการไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมในประเด็นนี้


สอง กรณีหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคอื่นไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆกับการกระทำของนายยงยุทธ ติยะไพรัช นายสุนทร วิลาวัลย์ และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา


ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เป็นข้อสันนิฐานเด็ดขาดว่า การกระทำของหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคกระทำทุจริตเลือกตั้ง ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้พรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกฟ้อง จะไม่ได้เป็นผู้กระทำก็ตาม กฎหมายยังให้ถือว่าเป็นผู้กระทำ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่อาจวินิจฉัยเป็นอื่นได้


ศาลรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต่องไต่สวนพยานเพิ่มเติมในกรณีที่มีการยื่นคำร้องขอไต่สวนพยานหลักฐานว่า กรรมการบริหารพรรคคนอื่น ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรคทั้งสามคน


ตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายนแล้ว

แต่เมื่อมีการยื่นบัญชีพยานหลักฐานแก่ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลการเสียงข้างมากเห็นว่า น่าจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายพรรคการเมืองทั้งสามชี้แจงบ้าง แม้จะสามารถชี้ขาดในข้อกฎหมายได้เลยเนื่องจากข้อเท็จจริงเป็นข้อยุติ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้แล้ว แม้เสียงข้างน้อยจะทักท้วงว่า ไม่มีประเด็นที่จะต้องไต่สวนแล้วก็ตาม จึงมีการนัดตรวจบัญชีพยานหลักฐานในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551

จึงกลายเป็นจุดผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีคำสั่งให้งดไต่สวนพยานหลักฐาน ทำให้ดูเหมือนเร่งรีบลุกลี้ลุกล้น

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเผชิญหน้าทางการเมืองระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ยึดสนามบินฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)และรัฐบาลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลเห็นว่า อาจมีแรงกดดันต่อการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ในที่สุดจึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมและให้แถลงปิดคดีในวันที่ 2 ธันวาคมได้เลย


ประการที่สอง การย้ายสถานที่พิจารณาคดีทำได้หรือไม่


ตุลการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า หลังจากแถลงปิดคดีแล้ว อาจมีคำวินิจฉัยในบ่ายวันที่ 2 ธันวาคมเลยหรืออาจเป็นวันทีที่ 3 ธันวาคม แล้วแต่ว่า การแถลงปิดคดีจะมีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงข้อชี้ขาดในทางกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญที่แต่ละคนได้ทำความเห็นส่วนตนไว้เรียบร้อยแล้วได้หรือไม่


อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข่าวว่า กลุ่ม นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงจะปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้ตุลาการเข้าทำงานในศาลเพื่อแถลงปิดคดีได้

ดังนั้น เมื่อเย็นวันที่ 1 ธันวาคม ทางศาลรัฐธรรมนูญจึงประสานกับนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลศาลปกครองขอยืมสถานที่ของศาลปกครองในการพิจารณาคดียุบพรรค


ขณะเดียวกันก็ปล่อยข่าาว่า ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดพบกันในช่วงเช้าวันที่ 2 ธันวาคม ณ ศาลรัฐธรรมนูญ


จนกระทั่งเช้าวันที่ 2 ธันวาคม กลุ่ม นปช.จึงเคลื่อนพลไปปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ ทางเจ้าหน้าที่ศาลจึงนำคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญแจ้งย้ายสถานที่พิจารณาคดีที่เตรียมไว้แล้วปิดที่หน้าศาล พร้อมกับแจ้งให้กับตัวแทนพรรคการเมืองทั้งสามทราบทั้งทางโทรศัพท์และโทรสาร


ขณะเดียวกันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนซึ่งนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าแล้ว ได้เดินทางถึงศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะแต่เช้าตรู่ครบทั้ง 9 คน ทำให้ ม็อบ นปช.ที่ตามมาจากศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถสกัดไม่ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเข้าไปในศาลปกครองได้ทัน

ต่อมานายยืนหยัด ใจสมุทร คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคพลังประชาชนอ้างว่า การย้ายสถานที่พิจารณาคดีของศาลไม่สามารถทำได้และทางพรรคพลังประชาชรนไม่ได้รับแจ้งการย้ายพรรค


ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งยืนยันว่า มีการแจ้งให้ตัวแทนพรรคการเมืองทั้งสามทราบแล้ว มิเช่นนั้นนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยและนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตยจะเดินทางมาแถลงปิดคดีได้อย่างไร แต่พรรคพลังประชาชนเองต่างหากที่ให้สัมภาษณ์ว่า จะไม่มาแถลงปิดคดี


สำหรับการย้ายที่ทำการศาลนั้น เป็นอำนาจตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อ 6 (ที่ให้นำประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้)ประกอบประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35ที่บัญญัติว่า

"..ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลจะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่น หรือในวันหยุดงารนหรือในเวลาใดๆก็ได้"


การที่กลุ่ม นปช.ปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ ขัดขวางการแถลงปิดคดีเข้าข่าย"เป็นเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น"ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว


ประการที่สาม ทำไมศาลรัฐธรรมนูญ จึงอ่านคำวินิจฉัยทันทีที่แถลงปิดคดีเสร็จ


อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า เดิมศาลรัฐธรรมนูญกำหนดที่จะอ่านคำวินิจฉัยในช่วงบ่ายวันที่ 2 ธันวาคมหรือ 3 ธันวาคม แล้วแต่ข้อเท็จจริงในการแถลงปิดคดี แต่เมื่อมีการปิดล้อมศาลปกครองและตุลการเห็นว่า กลุ่มม็อบเสื้อแดงมีเป้าหมายที่จะขัดขวางมิให้อ่านคำวินิจฉัย จึงเร่งรีบอ่านทำทันทีที่มีการแถลงปิดคดีเสร็จ ซึ่งมีการเตรียมคำวินิจฉัยไว้เรียบร้อยแล้วเนื่องจากเป็นการชี้ขาดในข้อกฎหมายและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นมาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551


เพียงแต่มีการเติมข้อเท็จจริงจากคำแถลงของหัวหน้าพรรคเข้าไปบ้าง อย่างกรณีพรรคชาติไทย เช่น


"แม้ตามคำแถลงการของหัวหน้าพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจอยู่มากก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำผิดโดยผู้ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคของผู้ถูกร้องแเล้ว ผู้ถูกร้องย่อมต้องรับผิดตามบทบัญญัติกฏหมายนี้ด้วย "


ประการที่สี่ ทำไมคำสั่งยุบพรรคชาติไทยและเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคจึงมีเสียง 8 ต่อ 1 ไม่เปเนเอกฉันท์เหมือนอีก 2 พรรค

ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสองบัญญัติว่า "ถ้าการกระทำ(ทุจริตเลือกตั้ง)ของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง"


จากบทบัทบัญญัตที่ระบุว่า "ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น" ตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่า การที่จะมีคำสั่งยุบพรรคหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า การกระทุจริตเลือกตั้งดังกล่าวมีความร้ายแรงหรือไม่ เช่น ทุจริตเฉพาะตัวเอง ทุจริตให้พรรคได้ประโยชน์


ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติที่ว่า "ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง" ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เมื่อมีคำสั่งยุบพรรคแล้ว กฎหมายมีบทบังคับเด็ดขาดให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด


ในกรณีพรรคชาติไทยนั้น นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลการเสียงข้างน้อยเห็นว่า นายมณเทียร เป็นการซื้อเสียงเพื่อตัวเองคนเดียว มิได้ให้ประโยชน์แก่ผู้สมัครรายอื่นด้วย จึงเห็นว่าพฤติการณืไม่ร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรค

เมื่อไม่มีการยุบพรรค จึงไม่ต้องเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก