ชาวดิน ออนเน็ต

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี
ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน
ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี
อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง
คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน

7 / มีนาคม / 2553
........


วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 02, 2551

สนนท.เสนอการเมืองใหม่

นักศึกษาชูการเมืองใหม่ เลือกตั้งนายกฯโดยตรง
ที่มา ไทยรัฐ

เมื่อ ช่วงเย็นวานนี้ (28 ก.ย.) ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ ตัวแทนสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), สหภาพ แรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มประกายไฟ ร่วมกันออกแถลงการณ์ "การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยตรง ระบบลูกขุน ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"

โดย ระบุว่า ด้วยสถานการณ์การเมือง โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอการเมืองใหม่ โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน การเมืองแบบเก่า ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง และการคอรัปชัน แต่กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นเจ้าภาพ เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน การเลือกตั้งผสมการสรรหา ดังนั้น การเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ จึงเป็นเพียงการเมืองใหม่สูตรโบราณ

แถลง การณ์ระบุต่อว่า ความพยายามเสนอโครงการทางการมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นไปเพื่อเป้าหมายทำลายศัตรูทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีข้อเสนอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง ไม่มีอุดมการณ์ที่จะสร้างการเมืองใหม่ที่แท้จริง สหภาพแรงงาน นักศึกษา ประชาชนและองค์กรแนวร่วมในฐานะเป็นองค์กรภาคประชาชนเล็งเห็นว่า การปฏิรูปสังคมที่เป็นอิสระจากพันธมิตรฯ จึงควรมีข้อเสนอโครงการทางการเมืองของเราเอง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคมการเมืองอย่างแท้จริง ดังนี้

1. การ ปฏิรูปการเมือง โดยสนับสนุนให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา เนื่องจากความซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น โดยสมาชิกสภาต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน, ต้องลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคของการวมตัวเพื่อตั้งพรรคการเมืองของประชาชน เช่น ไม่ต้องจดทะเบียนพรรค,ไม่ต้องมีสาขาพรรค และจำนวนสมาชิกตามกำหนด

2.การ กระจายอำนาจ โดยยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคที่เน้นการรวมศูนย์จากส่วนกลาง แต่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปกครองตนเองผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ปฏิรูประบบศาล ลดอำนาจของศาลที่มีอยู่เดิม เนื่องจากผู้พิพากษาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงเสนอให้ใช้ระบบลูกขุนที่มาจากประชาชนธรรมดาแทนผู้พิพากษาในระบบราชการ แบบเดิม, ยก เลิกโทษประหารชีวิต และยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

4.ปฏิรูปกองทัพ ลดงบประมาณกองทัพ ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อใช้พื้นที่สร้างสวนสาธารณะและศูนย์ฝึกอาชีพ

5. ปฏิรูประบบภาษี ยกเลิกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บภาษีจากที่ดิน มรดกในอัตราก้าวหน้า เพื่อนำมาสร้างรัฐสวัสดิการ

และ 6. รัฐสวัสดิการ ปฏิรูปที่ดินการรวมศูนย์โดยแบ่งที่ทำกินให้คนที่ไม่มีที่ดินเพียงพอ, สร้างรัฐสวัสดิการให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึง, ยกเลิกกฏหมายทำแท้งเสรี, ขยายมาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล และยกเลิกแรงงานนอกระบบ

ทั้ง นี้ กลุ่มผู้เสนอแนวทางการเมืองใหม่จะรณรงค์โดยการแจกใบปลิวและสร้างเวทีพุดคุย กับประชาชนและขบวนการภาคประชาชน โดยเริ่มดำเนินการในวันที่ 4 ต.ค.นี้ เวลา 11.00 น.

เมื่อ ถามว่า ทางกลุ่มจะร่วมกับองค์กรอิสระปฏิรูปการเมืองซึ่งเสนอโดยอธิการบดี 24 สถาบันหรือไม่ นายเก่งกิจ กิตติเรียงลาภ แกนนำกลุ่มประกายไฟ กล่าวว่า ทางกลุ่มเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองควรมีเวทีของประชาชน ทางกลุ่มจะรอดูว่าแนวคิดตั้งองค์กรอิสระปฏิรูปการเมือง จะมีรูปแบบอย่างไร แต่เท่าที่ปรากฏข่าวได้มีการเสนอให้ นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส เป็นประธานองค์กรอิสระฯ ทางกลุ่มเห็นว่านพ.ประเวศ มีบทบาทที่สนับสนุนพันธมิตรฯ จึงไม่น่าจะมีความเป็นกลาง

นาย เก่งกิจ กล่าวด้วยว่า การปฏิรูปการเมืองควรเป็นการปฏิรูปโดยประชาชนหรือคนกลุ่มใหม่ เช่น คนจน นักศึกษา ทางกลุ่มเชื่อว่า การออกมาเสนอแนวทางการเมืองใหม่ข้างต้นน่าจะได้รับความสนใจจากคนกลุ่มใหญ่ ในสังคมที่เบื่อพันธมิตรฯ และไม่เอาแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปก.)
ลองเอาของเยาวชนประชาธิปไตยข้างบน เปรียบเทียบกับของพวกผู้ใหญ่้เมาเผด็จการ ข้างล่างนี่ดูนะครับ

อธิการบดียื่น4ข้อ วอน"สมชาย"ประกาศวาระแห่งชาติกู้วิกฤต ตั้งคกก.อิสระปฏิรูปการเมืองมีอำนาจเต็มที่

อธิการ บดีและตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนจำนวน 24 สถาบัน แถลงข่าวเสนอ 4 ข้อเรียกร้องต่อ "สมชาย" แก้ไขวิกฤติชาติอย่างเร่งด่วน ให้เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งประธานคณะกรรมการอิสระ เพื่อปฏิรูปการเมืองการปกครองมีอำนาจเต็มที่

เมื่อเวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมสัญญาธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิการบดีและตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนจำนวน 24 สถาบัน อาทิ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการมหาวิทยาลัยรังสิต,นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมเสนอข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขวิกฤตร้ายแรงของชาติ ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแถลงข่าวเสนอ 4 ข้อเรียกร้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี



เพื่อพิจารณาแก้ไข วิกฤติร้ายแรงของชาติ หลังจากที่ประเทศมีรัฐบาลชุดใหม่บริหารราชการแผ่นดิน ทางกลุ่มอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จึงร่วมลงชื่อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้แก้ไขวิกฤติชาติอย่างเร่งด่วน โดยการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการเมืองการปกครองขึ้นมา แก้ไขปัญหาเรื่องการเมืองการปกครองกลไกการเข้าสู่อำนาจรัฐ อันเป็นปมปัญหาพื้นฐานจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่ประเทศชาติประสบอยู่ขณะนี้


นาย อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นตัวแทนอ่านข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ภายหลังได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือจำนวน 4 ข้อเพื่อเสนอเรียกร้องต่อนากยกรัฐมนตรี ดังนี้


ข้อ 1. ขอให้นายกรัฐมนตรีประกาศเป็นวาระแห่งชาติในการแก้ไขวิกฤตร้ายแรงในทางการเมืองโดยดำเ
นิ นการโดยเร่งด่วนที่สุดให้จัดตั้ง "คณะกรรมการอิสระ เพื่อปฏิรูประบบการเมืองการปกครอง" ขึ้น เพื่อศึกษาหาแนวทางและข้อเสนอแนะ ในการปฏิรูประบบการเมืองการปกครองของประเทศ โดยยึดหลักการการเพิ่มบทบาทของการเมืองภาคประชาชน การกระจายอำนาจ การจัดระบบการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองที่เหมาะสมเป็นธรรม และจัดระบบตรวจสอบการใช้อำนาจทางการเมือง



ข้อ 2.ขอให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานคณะกรรมการอิสระ เพื่อปฏิรูปการเมืองการปกครอง จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งมีความสามารถเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย โดยให้ แต่งตั้ง เฉพาะตัวประธานคณะกรรมการ และระบุในคำสั่งแต่งตั้ง ให้ประธานคณะกรรมการ เป็นผู้เลือกสรรและแต่งตั้งกรรมการคนอื่น ๆ ทั้งหมดตามจำนวนที่เหมาะสมเอง โดยทำเป็นคำสั่งของประธานคณะกรรมการ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเมืองจะต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการเลือก สรรหรือแต่
งตั้งกรรมการของประธานคณะกรรมการตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย


ข้อ 3.ให้คณะกรรมการชุดนี้ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ ภายในกรอบระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน โดยให้มีอำนาจเรียกข้อมูล จากหน่วยงานของรัฐและเรียกบุคคลใด ๆ มาชี้แจงให้ข้อมูล โดยจะต้องจัดงบประมาณดำเนินการในลักษณะเงินอุดหนุนให้ เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ โดยคณะกรรมการจะต้องดำเนินการจัดทำข้อเสนอ และความเห็นต่าง ๆ โดยรับฟังและรายงานต่อสาธารณะ อย่างเปิดเผยและสม่ำเสมอ และเมื่อเสร็จขั้นตอนการดำเนินการแล้ว คณะกรรมการจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินการ และจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อการปฏิรูปการเมืองการปกครองตามแนวทางที่เสนอในรายงานเพื่อนำเสนอต่อ นายกรัฐมนตร



และข้อ 4.ขอให้นายกรัฐมนตรี ประกาศรับรองต่อสาธารณะในนามของรัฐบาลตั้งแต่ต้นว่า เมื่อได้รับข้อเสนอดังกล่าวจากคณะกรรมการฯ แล้ว จะนำข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมืองการปกครอง ตามรายงานดังกล่าว ไปสู่กระบวนการลงประชามติ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนทั่วประเทศ และหากประชาชนได้ให้ความเห็นชอบในข้อเสนอแนวทางตามรายงานดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีจะได้นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่คณะกรรมการได้จัดทำขึ้นตามแนวทางดังกล่าวขอความเห็นชอบต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ตามเนื้อหาทั้งหมดที่เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการดังกล่าว


อธิการบดีในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ที่ได้ลงนามในข้อเรียกร้องนี้ ได้ปรึกษาหารือกัน และมีความเชื่อมั่นโดยบริสุทธิ์ใจว่า มีแต่แนวทางการดำเนินการเช่นนี้เท่านั้น ที่จะสามารถนำไปสู่การหาข้อยุติ ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง อันเป็นปัญหารากฐานที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤติร้ายแรง ที่คุกคามประเทศชาติอยู่ในขณะนี้ได้


อธิการบดีในสถาบันอุดม ศึกษาต่าง ๆ ที่ได้ลงนามในข้อเรียกร้องนี้ ใคร่ขอวิงวอนต่อนายกรัฐมนตรีในการพิจารณาตัดสินใจและดำเนินการตามแนวทางที่ ได้เสนอนี
้โดยเร็วที่สุด เพื่อหาทางคลี่คลายวิกฤต และแสวงหาทางออกการเมืองและสังคมที่เป็นไปได้ให้แก่ประชาชนไทยทุกคนภายใต้สถานการณ์ส
ังคมที่มีความแตกแยกร้ายแรงในทุก ๆ ด้านที่เป็นอยู่ในขณะนี้ให้ทันท่วงที

รายชื่ออธิการบดี ดูได้ตามlinkครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1222429398&grpid=00&catid=01
ปัญหาของข้อเสนอของ สนนท.และกลุ่มประกายไฟ
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ผมลังเลว่า ควรแสดงความเห็นหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีความซับซ้อนอยู่

ความจริง ผมเห็นด้วย "ในทางหลักการ" เกี่ยวกับข้อเสนอส่วนมาก ของ สนนท.และกลุ่มประกายไฟ
(พูดนี่ไม่ใช่พูดในเชิงโวหาร เรื่องเลือกนายกทางตรง หรือ โดยเฉพาะเรื่อง trial by jury เพราะความจริงเป็นเรื่องที่ผมเองคิดอยู่ไม่น้อย ในช่วงที่มีวิกฤติ "ตุลาการภิวัฒน์" แต่ปัญหา - ดังที่จะพยายามอธิบายข้างล่าง - คือ "การเมืองของการเสนอ" : นัยยะ, จังหวะก้าว ฯลฯ ของข้อเสนอ, ความสอดคล้องกับ สถานการณ์รูปธรรม ฯลฯ)

และในสถานการณ์ที่มีพวกนักวิชาการไม่มีกระดูกสันหลังออกมาขานรับเรื่อง "การเมืองใหม่" ของพันธมิตร ข้อเสนอของ สนนท.-กลุ่มประกายไฟ จึงมีลักษณะ "ก้าวหน้า" แน่นอน

ผมจะพยายามชี้ให้เห็นปัญหา โดยโฟกัส ที่ประเด็นเดียว เรื่อง "นายกฯเลือกตั้งทางตรง"

ผมขอตั้งคำถามแบบ provocative ต่อ สนนท. และโดยเฉพาะต่อ "ประกายไฟ" (เก่งกิจ, ฯลฯ ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดแบบใจ ที่ชูท่าที "2 ไม่เอา") ว่า

สมมุติ ถ้าเลือกตั้งทางตรง แล้ว ทักษิณ ได้เป็นนายกฯ คุณจะยอมรับไหม?


แน่นอน ด้านหนึ่งนี่เป็น "เรื่องสมมุติ" ที่ไม่เกิดขึ้นจริง อย่างน้อยในอนาคตอันใกล้

แต่ที่ถามนี้ มีนัยยะสำคัญอยู่

ก่อนอื่น ในแง่ประวัติศาสตร์

สนนท.-กลุ่มประกายไฟ ทำถูกต้องที่ "ท้าวความ" ถึง "ประวัติศาสตร์" บางอย่างของพันธมิตร วิกฤติปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่กี่วัน หรือกระทังไม่กี่เดือนนี้ แต่เป็นความต่อเนื่องของวิกฤติที่ ครบรอบ 3 ปี ในเดือนนี้แล้ว (เริ่มนับจาก "พระราชอำนาจ" ของ ประมวล โรจนเสรี)

แต่ "ประวัติศาสตร์" นี้ไม่ใช่มีเฉพาะ พันธมิตร กลุ่มประกายไฟ เอง (ไม่นับ สนนท. เพราะเปลี่ยนผู้บริหารหลายครั้งแล้วในระยะ 3 ปีนี้) คือ หนึ่งในกลุ่มที่ชูธง "ไม่เอาทักษิณ ไม่เอา พันธมิตร/ตมช." (หรือ "2 ไม่เอา") มาโดยตลอด (อันที่จริง ธงนี้ ก็ยังชูอยู่ แม้ในแถลงการณ์นี้ - พวกที่เชียร์ทักษิณ อย่างคุณ "ลูกชาวนาไทย" ฯลฯ อ่านไม่เจอ หรือ จงใจไม่พูดถึงเอง)

ทีนี้ ปัญหาคือ - ดังที่ผมพยายามยืนกรานมาตลอดตั้งแต่ปี 2549 ว่า จุดยืน "2 ไม่เอา" นี้ผิด เพราะ คุณไม่สามารถ ยืนยัน พร้อมๆกันว่า "นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง" (คัดค้านพันธมิตร) ขณะเดียวกัน ก็ตะโกนว่า "ไม่เอาทักษิณ" ได้

เพราะทักษิณ มาจากการเลือกตั้งจริงๆ

(ผมจะไม่ขอพูดเรื่องนี้ซ้ำอย่างละเอียด แต่ใครที่อ่านที่ผมเขียนทางเว็บมาตลอด 2 ปีเศษนี้ น่าจะยังพอจำได้)

อันที่จริง - และนี่คือประเด็นสำคัญ - มองในแง่ ความเป็นจริง อาจกล่าวได้ว่า

ทักษิณ คือ "นายกฯเลือกตั้งทางตรง คนแรกของประเทศไทย"

(นี่ไม่ใช่ประเด็นเล็กๆ มีความสำคัญต่อความเข้าใจ วิกฤติ 3 ปีนี้อย่างมาก เทอมที่ผ่านมา ผมบรรยาย ปวศ.การเมืองไทย ผมย้ำประเด็นนี้หลายครั้งว่า ต้องเข้าใจนัยยะของเรื่องนี้ให้ดี)

เลือกตั้งปี 48 นั้น ที ทรท.สร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการเป็นพรรคเแรกที่ครองเสียงข้างมากในสภา .. ปรากฏการณ์นี้ คือ ปรากฏการณ์เดียวกับในประเทศตะวันตก ที่แม้จะใช้ระบบ westminster (อังกฤษ) คือ ใช้เลือก "พรรค" เข้ามา แต่ความจริงคือ คนทีเลือกพรรคส่วนใหญ่ รู้ว่า เลือกแล้ว หัวหน้าพรรคในขณะนั้น - คือทักษิณ - จะได้เป็นนายก

พูดง่ายๆคือ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่นักการเมืองทีเป็นนายกฯ สามารถอ้างได้อย่างถูกต้องว่า "ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้มาเป็นนายก"

(ชวน, ชาติชาย, บรรหาร, ชวลิต ... บรรดา "นายกฯเลือกตั้ง" เหล่านี้ ไม่สามารถอ้างเช่นนี้ได้ เพราะไม่มีพรรคใด ชนะแบบท่วมท้น แบบเสียงข้างมากของสภาแบบนี้ ทุกคนต้องเข้ามา "ต่อรอง" ต้อง "รอดู" ก่อนว่า พรรคใดจะร่วมตั้ง รบ.ผสม ด้วย ฯลฯ พูดแบบภาษาทางการคือ ไม่เคยมีใครอ้างได้ว่า มี mandate จาก ประชาชนทั่วประเทศ จริงๆ อย่างทักษิณ)

ที่ "อำนาจที่มองไม่เห็น" (ที่สำคัญคือ องคมนตรี-กองทัพ-ตุลาการ) ขึ้นมาร่วมมือกันโค่นทักษิณ ก็มาจากความจริงของ "ลักษณะของอำนาจ" ของฝ่ายทักษิณ เช่นนี้เป็นสำคัญ

เพราะนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ มีอำนาจที่อ้างได้จริงๆว่า "มาจากประชาชนทั่วประเทศ" (ก่อนหน้านี้ "ใคร" หรือ "อำนาจ" ใด ที่ชอบอ้าง แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้จริงๆ ... คงไม่ต้องอธิบายมาก)


การเลือกตั้งปี 49 ท่ามกลางวิกฤติ นั้น ทักษิณ ก็ยังชนะเลือกตั้งระดับประเทศอยู่นั่นเอง


เห็นความสำคัญ ของนัยยะ ของการตั้งคำถามของผมหรือยัง?

ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ในเมือ่พวกคุณ (ประกายไฟ, เก่งกิจ, ใจ ฯลฯ) ตะโกนไม่ขาดปากว่า "ไม่เอาทักษิณ" (และ "นอมินี" ของทักษิณ ที่ชนะเสียงข้างมากมาเหมือนกัน แม้จะไม่มากเท่าทักษิณ ในกรณีสมัคร ที่พวกคุณก็ชูว่า "ไม่เอาสมัคร")

ขอถามว่า ถ้าเช่นนั้น การเสนอเรื่อง "เลือกตั้งนายกฯทางตรง" มีความหมายอะไร ถ้าคุณเอง ไม่พร้อมจะยอมรับเอง?

เรื่องนี้สำคัญ เพราะโยงเข้ากับประเด็น "การเมืองของข้อเสนอ" ที่กล่าวข้างต้น

นั่นคือ "ในทางหลักการ" ข้อเสนอที่เสนอมาถูกต้อง

ปัญหาทีว่า พวกคุณไม่ยอมปฏิบัติเอง - นี่เป็นปัญหา แต่ที่สำคัญกว่านั้น ที่ผมจะเสนอคือ

เรืองนี้ สะท้อนปัญหาสำคัญคือ การไม่รู้จักคิดในทางการเมืองว่า "ปัญหาทางการเมืองปัจจุบัน จริงๆ" คื่ออะไร?


ผมขอเสนอว่า ปัญหา ไม่ใช่อยู่ที่วา "เรามาขยายประชาธิปไตย ของการเลือกผู้นำ ด้วยการเลือกนายกฯทางตรง กันเถอะ"

ใช่ ดีเลยครับ ที่เสนอในแง่หลักการ

แต่จะเห็นว่า กรณีตัวอย่างของพวกคุณเอง สะท้อนอะไร?

และอันนี้โยงเข้ากับเรื่องการเมืองใหม่ ของ พันธมิตร โยงเข้ากับท่าทีของคนอย่าง "24 อธิการบดี" รวมไปถึงท่าทีของบรรดา พวกที่เป็น "ภาคประชาชน" เช่น กรณี กอ.ปช. (ไพโรจน์ ฯลฯ) และพวกคุณเองด้วย

นั่นคือ

ปัญหาการเมืองปัจจุบันจริงๆ ที่กำลัง "ประลองกำลัง" กันอยู่ คือ

"คุณจะยอมรับการเลือกตั้งเสียงข้างมาก เป็นตัวตัดสิน การเลือกผุ้นำประเทศหรือไม่"

อันนี้ต่างหาก


จะเลือกโดยตรง หรือ ไม่โดยตรงอย่างปัจจุบัน

ฝ่าย พันธมิตร, "24 อธิการ" และแม้พวกคุณเอง ก็ล้วน "ไม่ยอมรับ" ทั้งสิ้น

ซึ่งแสดงออกมาตลอด 3 ปีนี้ ด้วยการ "ไม่เอาทักษิณ" แล้วก็ "ไม่เอาสมัคร" และในปัจจุบัน "ไม่เอาสมชาย" (ซึ่งพวกคุณแชร์ด้วย)


ข้อเสนอทางการเมืองนั้น ผู้เสนอต้อง "คิดให้ตลอด" (think-through)

ปัญหาของ "ภาคประชาชน" ในช่วงวิกฤติ ก่อน รปห.19 กันยา ที่ผมวิพากษ์มาตลอด (แต่ไม่มีใครยอมฟัง) ก็คืออันนี้แหละ

ในปี 49 คือ พวกคุณปากก็ตะโกนว่า "ไม่เอาพันธมิตร" "ไม่เอานายกฯพระราชทาน" "นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง"

แต่ขณะเดียวกัน ก็ยืนกราน (ร่วมในทางการเมือง) "ไล่ทักษิณ" "ทักษิณต้องออกไป" (หลัง รปห. คือ "ไม่เอาสมัคร" "ไม่เอาสมชาย")

ผมยื่นกรานมาตั้งแต่ต้นปี 2549 ว่า จุดยืน "2 ไม่เอา" แบบนี้ คือจุดยืนที่ปฏิเสธตัวเอง เป็นจุดยืนที่ ในที่สุดแล้ว "เข้าล็อก" พวกพันธมิตร


ตอนนี้ คุณเสนอ "นายกฯเลือกตั้งทางตรง" ผมเชียร์ ผมเห็นด้วย ผมสนับสนุน

แต่ขอถามดังๆ ขอท้าทายว่า

(1) ถ้าเลือกตั้งทางตรง ได้นายกฯอย่างทักษิณ คุณเอาหรือ?

(ปี 49 ผมเคยเสนอไปแล้วว่า ที่พวกคุณรณรงค์ no vote นั้นผิด และที่ผิดยิ่งขึ้นคือ หลังจาก แพ้ในการรณรงค์แล้ว คือหลังทักษิณฃนะเลือกตั้งแล้ว คุณไม่มีใครยอมออกมายอมรับ "ความชอบธรรม" ของทักษิณ ยังคงยืนกรานเคลื่อนไหว ไล่ทักษิณ แบบเดียวกับพันธมิตร วันก่อน ผมฟังบรรยายที มธ.ของ ดร.อภิชาติ กลุ่ม"สันติประชาธรรม" พูดโจมตีการเมืองใหม่ของพันธมิตร และย้ำความสำคัญของการยอมรับการตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง .. ผมอดรู้สึก irony แบบเศร้าๆไม่ได้ว่า "ถ้าเพียงแต่พวกคุณพูดแบบเดียวกันนี้ในปี 2549...")

(2) ก่อนที่จะมีเลือกตั้ง นายกฯทางตรง
ตอนนี้มี นายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง เสียงข้างมาก อย่างไม่ต้องสงสัย ทำไมพวกคุณเอง จึงไม่ยอมรับ ทำไม จึงยังตะโกน คำขวัญ อันไร้ความหมาย ไม่รับผิดชอบ และดัดจริต ประเภท "2 ไม่เอา" อยู่?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก