ชาวดิน ออนเน็ต

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี
ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน
ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี
อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง
คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน

7 / มีนาคม / 2553
........


วันอังคาร, พฤษภาคม 04, 2553

NHK ประเทศญีปุ่น ไม่ไว้ใจรัฐบาลไทย เรียกร้องให้มีประเทศที่สามในการสืบสวน

Shooting of Japanese journalist in Bangkok - Hiroyuki Muramoto






Shooting of Japanese journalist in Bangkok

A male protestor who was near the scene of the shooting of Japanese cameraman Hiroyuki Muramoto
says he had been standing in front of the protestors filming the security forces ahead.

The man says security troops opened fire, and Muramoto fell unconscious to the ground. He says he
carried the cameraman into an ambulance.

A hospital official said Muramoto had been shot in the left of his chest and was bleeding badly.

Late Saturday, Japan's Foreign Ministry expressed regret to the Thai Embassy in Tokyo and asked the
Thai government to investigate the incident.

On Sunday morning, Thai foreign minister Kasit Piromya sent a message of condolence to Japanese
Foreign Minister Katsuya Okada. The Thai government pledged to look into the matter.

The organization Reporters Without Borders issued a statement on Saturday calling for a thorough and
independent investigation into Muramoto's death.

The organization says experts from third countries should take part in the investigation. They should
clarify whether live ammunition was used and which force opened fire.

It says Muramoto is the first journalist to die while covering the unrest in Thailand since 2008.

2010/04/11 16:37(JST) แหล่งข่าว : http://www.nhk.or.jp/daily/english/11_16.html


NHK ประเทศญีปุ่น ไม่ไว้ใจรัฐบาลไทย เรียกร้องให้มีประเทศที่สามในการสืบสวน


ภายหลังการเสียชีวิตของ นักข่าวสำนักรอยเตอร์ Hiroyuki Muramoto ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม
โดยสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจาก บาดแผลการถูกยิงตรงหน้าอก

องค์กรข่าว NHK ประเทศญีปุ่น เรียกร้องให้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่สาม มาร่วมในการสืบสวนหาสาเหตุ
การเสียชีวิตของนักข่าวสำนักรอยเตอร์ Hiroyuki Muramoto ในข้อสงสัยต่อไปนี้

1. การใช้กระสุนจริงในการปฏิบัติการ
2. ฝ่ายไหนเป็นผู้เปิดฉากยิง





images by uppicweb.com







click to zoom click  to zoom

ภาพสุดท้าย - ส่วนหนึ่งของภาพวิดีโอความยาว 7 นาทีที่นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์
บันทึกไว้ระหว่างทำข่าวการปะทะกันของ กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกับทหาร เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนที่นายมูราโมโตะ
จะถูกยิงที่หน้าอกจนเสียชีวิต (รอยเตอร์)

อย่างที่รับรู้กัน ฮิโรยูกิ "ฮิโร่" มูราโมโตะ เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 เมษายน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
ในฐานะช่างภาพโทรทัศน์ของรอยเตอร์ ทีวี 2 วันให้หลังตากล้องพ่อลูก 2 วัย 43 ปีรายนี้ ถูกหามส่งโรงพยาบาลในสภาพไม่
สามารถจับชีพจรได้ กระสุนนัดหนึ่งเจาะเข้า บริเวณหน้าอกทะลวงออกทางด้านหลัง
กล้องโทรทัศน์ที่หลุดจากมือถูกผู้ ชุมนุมประท้วงเก็บไว้ ก่อนคืนให้รอยเตอร์ในเวลาต่อมา


หลังตรวจสอบ รอยเตอร์พบว่า ภายในนั้นมีภาพวิดีโอที่เป็นผลงานของมูราโมโตะ ความยาว 7 นาทีอยู่ด้วย หากไม่ถูกตัดทอน
ดัดแปลงใดๆ นี่น่าจะเป็น 7 นาทีสุดท้ายในชีวิตของ "ฮิโร่" บนโลกใบนี้
เพราะรอยเตอร์ระบุว่า ไม่มีใครรู้ได้ว่า นี่คือสิ่งที่เขาถ่ายไว้เป็นครั้งสุดท้ายแท้จริงหรือไม่!

ต่อไปนี้คือคำบอกเล่าที่ นิค แม็คฟี เพื่อนร่วมอาชีพของ "ฮิโร่" บรรยายถึงสิ่งที่เขาได้เห็นจากกล้องตัวนี้ใน 7นาทีสุดท้ายนั้น!



พากลับบ้าน - ญาติของนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น เดินทางมาขอรับศพนายมูราโมโตะ ซึ่งเสียชีวิต
ระหว่างทำข่าวช่วงสลายม็อบคนเสื้อแดง ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อวันที่ 12 เมษายน

" ฟุตเทจของมูราโมโตะ เริ่มที่ หลังแนวของทหาร ด้านหนึ่งคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฉากที่เคยเป็นเวทีของความรุนแรงที่
เลวร้ายของเมืองนี้ในปี 2535 ใกล้กับสะพานผ่านฟ้า ลีลาศ อันเป็นส่วนเมืองเก่าของกรุงเทพมหานคร


ทหารในชุดปราบจลาจลเต็มยศยืนประจำการพร้อมกับไรเฟิลในมือชี้ขึ้นสู่ท้องฟ้า มีเสียงปืนดังระงมต่อเนื่อง ทหารนายหนึ่งมอง
มาที่ มูราโมโตะ สองครั้งด้วยท่าทีเคร่งเครียดแต่ไม่ใช่การคุกคามแต่อย่างใด


จากนั้น เกิดระเบิดขึ้น ครั้งหนึ่งตรงหน้า มูราโมโตะห่างออกไปเพียงไม่กี่หลา ส่งผลให้ทหาร 4นาย กระเด็นร่วงลงกับพื้น
ใน
ทันทีท่ามกลางประกายไฟและหมอกควันกระจัดกระจาย ทหาร 2 ใน 4 นาย ทรงตัวลุกขึ้นเดินโขยกเขยกออกไป


ช่างภาพโทรทัศน์อีกราย วิ่งแตกตื่นเข้ามาหามูราโมโตะ ผ่านเขาไป ทหารจำนวนหนึ่งพร้อมโล่ปราบจลาจล เบียดเข้ามาแล้วก็
ผละห่างออกไปเช่นกัน มูราโมโตะยังคงเดินกล้องต่อเนื่องขณะก้าวถอยหลังล่าถอยออกมาช้าๆ



กล้องโฟกัสไปที่ ทหารนายหนึ่งซึ่งนอนแน่นิ่งอยู่บนพื้น ดวงตาเหม่อลอยพร้อมกับบาดแผลเลือดท่วมบริเวณลำคอ แต่
ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อนทหารพยายามปลดเสื้อเกราะกันกระสุนออกมาจากลำคอของทหารนายนั้น


ในเฟรมถัดมา ทหารกลุ่มหนึ่งลากแขนของเพื่อนทหารที่เห็นได้ชัดว่าตกอยู่ในความเจ็บปวด ปากกระบอกไรเฟิลประจำกายครูดไป
ตามผิวถนน อีกร่างที่ไม่ไหวติงแล้วถูกลากจากไป


กล้องโฟกัสไปตามเส้นทางของคราบ เลือดบนท้องถนนที่ส่องประกายวูบวาบในระหว่างการต่อสู้บนท้องถนน ด้านบนคือแผ่นป้าย
เชิญชวนให้ร่วมฉลองเทศกาลสงกรานต์ หนึ่งในวันนักขัตฤกษ์ที่หฤหรรษ์ที่สุดในปฏิทินไทย


ทหารเริ่มล่าถอย และทันทีทันใด มุมกล้องก็เปลี่ยนไปเป็นการแสดงให้เห็นแถวของกลุ่มเสื้อแดง ส่วนใหญ่มีท่อนไม้และอีกส่วน
กำลังอวดโล่ซึ่งดูเหมือนจะยึดเอามาได้จากทหาร หลายคนโบกไม้โบกมือ ทำท่าทางให้กับใครก็ตามที่อยู่หลังกล้อง


บางคน พูดคุยแบบไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้กับทหาร อีกหลายคนโยนสิ่งของขึ้นฟ้า หนึ่งในจำนวนนั้นอ่อนกำลังตกลงมาโดย
ไม่ก่อให้เกิดอันตราย


ไม่มีใคร โดยรอบให้ความสนใจกับกล้องที่ยังเดินอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ในเวลา นี้นี่เอง ที่บริเวณสี่แยกแห่งนี้นี่เอง ที่ฟุตเทจทีวีจาก
อีกหลายแหล่ง แสดงให้เห็น

มือปืนจำนวนหนึ่งกำลังวิ่งหลบหนี ไม่ได้อยู่ในชุดแดงหรือชุดพรางของทหาร
แต่อยู่ในชุดพลเรือนดำทะมึน

รัฐบาลพูดถึง กำลังฝ่ายที่ 3 ที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ และสัญญาว่าจะสอบสวนสภาพแวดล้อมของความตาย
ของมูราโมโตะในครั้งนี้ "



An undated photo of Reuters television cameraman Hiroyuki Muramoto .
Muramoto, a 43-year-old Japanese national, was shot dead on April 10, 2010 during a violent clash between
Thai troops and anti-government protesters in Bangkok that killed 12 people. Muramoto was shot in the chest
and arrived at Klang Hospital without a pulse, hospital Director Dr Pichaya Nakwatchara said. Muramoto had
been covering fighting between troops and protesters in the Rajdumnoen Road area where soldiers opened fire
with rubber bullets and tear gas, as well as live rounds into the air, in Bangkok's worst political violence in 18 years


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก